วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

การพัฒนาแผนกลยุทธ์ และการขับเคลื่อน

คำถามท้ายบทที่ 7
การพัฒนาแผนกลยุทธ์ และการขับเคลื่อน
1.คำว่ากลยุทธ์ ตามรูปศัพท์มีความหมายว่าอย่างไร และในปัจจุบันที่มาใช้ทางการบริหาร หมายความว่าอย่างไร
ตามรูปศัพท์ คำว่า ”กลยุทธ์” หมายถึงการรบที่มีเล่ห์เหลี่ยม วิธีการต่อสู้ที่ต้องใช้กลอุบายต่างๆ เล่ห์เหลี่ยมในการต่อสู้ กลวิธี วิธีพลิกแพลงโดยอาศัยความรู้ความชำนาญ
และในปัจจุบันที่มาใช้ทางการบริหาร มีความหมายได้หลายอย่างเช่น
1.เป็นแผนหรือสาเหตุของการกระทำที่ตั้งใน 2.เป็นกลวิธีหรืออุบาย อาจมีลักษณะเฉพาะเจาะจง 3.เป็นรูปแบบที่เป็นกระบวนการของการกระทำที่สม่ำเสมอ 4.เป็นการจัดวางหรือจับคู่ระหว่าง องค์กร 5.เป็นการมองในหลายมิติ 6.กลยุทธ์ คือ แผน การกำหนดกลยุทธ์เป็นการกำหนดทิศทางหรือเป็นแนวทางการ ดำเนินงานในอนาคต 7.กลยุทธ์ คือ การกำหนดฐานะหรือตำแหน่ง 8.กลยุทธ์ คือ ทัศนภาพ 9.กลยุทธ์ คือ กลวิธีในการเดินหมาก
โดยสรุป ปัจจุบันทางการบริหารให้ความหมาย คำว่า ”กลยุทธ์” หมายถึง การนำองค์การโดยรวม (leading the total organization)

2.การวางแผนกลยุทธ์หมายถึงอะไร เพราะหตุใดจึงต้องมีการวางแผนกลยุทธ์
การวางแผนกลยุทธ์หมายถึงวิธีการที่แยบยลโดยอาศัยข้อมูลสารสนเทศ และความรู้ความชำนาญ เพื่อกำหนดสิ่งที่จะดำเนินการในอนาคตให้ได้เปรียบคู่แข่งขัน และบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ เป็นการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจร่วมกันอย่างมีระบบของผู้ที่เกี่ยวข้อง ภายใต้บริบทที่เป็นอยู่ปัจจุบัน และสอดคล้องกับสถานนการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อกำหนดกรอบทิศทาง หรือแผนการดำเนินงานขององค์กร
สาเหตุที่ต้องมีการวางแผนกลยุทธ์ เนื่องจากทุกหน่วยงานมี “ข้อจำกัด” ในด้านต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน แต่หน่วยงานยังมีความจำเป็นต้องดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ ดังนั้นแผนกลยุทธ์จึงเป็นแนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกับศักยภาพภายในหน่วยงานและแนวโน้มของสถานการณ์ภายนอก และเป็นเอกสารข้อความที่ช่วยให้ฝ่ายต่างๆ ทำงานไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน ตลอดถึงเป็นเครื่องมือในกระบวนการเรียนรู้ของหน่วยงาน

3.จงบอกถึงขั้นตอนการวางแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา และอธิบายแต่ละขั้นตอนโดยย่อ
ขั้นตอนการวางแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา
1.วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในหน่วยงาน (จุดแข็ง , จุดอ่อน) โดยวิเคราะห์จาก
· กลยุทธ์ของหน่วยงาน
· โครงสร้างองค์กร
· ระบบการปฏิบัติงาน
· บุคลากร การเงิน วัสดุอุปกรณ์
· ทักษะ ความรู้ความสามารถ
· รูปแบบการบริหารจัดการ
· ค่านิยมร่วม
2.วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกหน่วยงาน (โอกาส , อุปสรรค)
· นโยบาย ยุทธศาสตร์ชาติ, กระทรวง, อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
· เศรษฐกิจ
· สังคมและวัฒนธรรม
· เทคโนโลยี
- วิเคราะห์กำหนดตำแหน่งขององค์กร
· รุก
· ป้องกัน
· ถดถอยหรือ
· พลิกฟื้น
3. กำหนดทิศทางในอนาคต
- วิสัยทัศน์
- พันธกิจ
- เป้าประสงค์
4. กำหนดกลยุทธ์ของหน่วยงาน
- แผนงาน
- งาน/โครงการ
- ผลผลิต
- กิจกรรม
- งบประมาณ
5. การกำหนดปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จและตัวชี้วัดความสำเร็จ

4.การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมคืออะไร และมีความสำคัญต่อการ การวางแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา
อย่างไร
กระบวนการวิเคราะห์ SWOT เป็นกระบวนการที่เป็นระบบซึ่งเอื้อให้เกิดการใช้เหตุผลในการคิดและตัดสินใจกำหนดกลยุทธ์ ในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการ ผู้เข้าร่วมต้องใช้ความคิดและอภิปรายถึงเหตุผลต่าง ๆ ในการติดสินใจ ซึ่งทำให้เกิดความรอบคอบในการกำหนดกลยุทธ์ หลายครั้งที่กลุ่มมีการโต้แย้งอภิปราย และแบ่งเป็นฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายค้าน กระทั่งต้องใช้คะแนนเสียงเป็นตัวชี้ขาดการเลือกข้อสรุปหนึ่ง ๆ กระบวนการวิเคราะห์ SWOT จึงเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เหตุผลในการตัดสินใจกำหนดกลยุทธ์ ซึ่งข้อสรุปนี้สอดคล้องกับงานของ Goodstein et al.(1993), และงานของ Amold et al.Z1994)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมมีความสำคัญต่อการวางแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา คือ เมื่อทราบผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมก็นำมาวางแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษาให้สอดคล้อง เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม กำหนดทิศทางได้ถูกต้องเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสถานศึกษา
5.จงอธิบายของเทคนิค swot เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของสถานศึกษา
หลักการของเทคนิค SWOT คือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมโดยใช้เทคนิค SWOT Analysis เป็นการพิจารณาสภาพแวดล้อมทั้งจากภายนอก(external environment) และสภาพแวดล้อมภายใน(internal environment) โดยวิเคราะห์สภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันของหน่วยงานและพิจารณาแนวโน้มต่างๆในสิ่งแวดล้อม ระดับ มหภาค เพื่อคาดการณ์เปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นใน 3-5 ปี ข้างหน้า
เทคนิคที่ใช้ในกระบวนการวิเคราะห์ SWOT
ผลจากงานวิจัยเชิงปฏิบัติการพบเทคนิคที่ใช้ในกระบวนการวิเคราะห์ SWOT 6 ประการ คือ
1) การเขียนความคิดในกระดาษสี เทคนิคการเขียนความคิดในกระดาษสีช่วยให้ผู้เข้าร่วมได้คิดกลั่นกรอง และเป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนอภิปรายความคิดและขยายความคิดของผู้เข้าร่วมให้กว้างขวางขึ้นด้วย นอกจากนี้กระดาษสียังช่วยในการจัดกลุ่มความคิด และเคลื่อนย้ายจัดกลุ่มใหม่ได้
2) การกระตุ้นให้เกิดการอภิปราย การกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมอภิปรายเป็นเทคนิคที่ช่วยให้เขากระตือรือร้นในการเข้าร่วมกระบวนการ การใช้คำถามเป็นเทคนิคที่ช่วยกระตุ้นให้เขาตอบ อาจต้องใช้คำถามนำบ้างเพื่อกระตุ้นให้คิด การเขียนข้อความหรือวาดภาพสิ่งที่เขาเสนอหรือพูดบนกระดานเป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่ช่วยทำให้การอภิปรายเกิดความต่อเนื่องขึ้นได้ หากปล่อยให้ผู้เข้าร่วมฟังเป็นเวลานาน จะเกิดความเบื่อหน่ายและง่วงได้ บางครั้งอาจต้องแทรกกิจกรรมคลายเครียดบ้างเป็นระยะ ๆ ดังนั้น การกระตุ้นให้เกิดการอภิปรายเป็นเทคนิคที่สำคัญอย่างยิ่ง
3) การให้น้ำหนักเพื่อระบุปัจจัยหลัก เทคนิคการให้น้ำหนักเป็นเทคนิคที่ช่วยระบุว่า จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค อันใดเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อองค์กรอย่างยิ่งเทคนิคนี้ดัดแปลงมาจากงานของ Flavel and Williams (1996)
การให้น้ำหนักแต่ละชุดปัจจัยใช้วิธีการให้คะแนน โดยปัจจัยที่มีค่าคะแนนสูงจะเป็นปัจจัยหลักในแต่ละชุด การให้คะแนนปัจจัยพิจารณาเกณฑ์ ดังนี้
􀂃ใช้เกณฑ์ “ปัจจัยที่มีศักยภาพส่งผลกระทบต่อกลุ่ม (potential impact)” และ “ปัจจัยที่มีความสำคัญเชิงเปรียบเทียบ (relative important)” สำหรับปัจจัยชุดจุดอ่อนและจุดแข็ง
􀂃ใช้เกณฑ์ “ปัจจัยโอกาสทีมีความเป็นไปได้ของความสำเร็จ (probability of success)” และ “ปัจจัยโอกาสที่มีศักยภาพส่งผลสำหรับปัจจัยชุดโอกาส
􀂃ใช้เกณฑ์ “ปัจจัยอุปสรรคที่มีความเป็นไปได้ของการเกิดขึ้น (probability of occurrence)” และ “ปัจจัยอุปสรรคที่มีศักยภาพรุนแรงต่อกลุ่ม (potential severity)” สำหรับปัจจัยอุปสรรค
สำหรับเกษตรกร การให้คะแนนจะเป็นแบบ 5 ระดับ คือ ต่ำมาก ต่ำ กลาง สูง สูงมาก ซึ่งจะแปลง คะแนนนี้เป็นตัวเลข โดยให้ค่าต่ำมาก = 1 , ต่ำ = 2 , กลาง = 3, สูง = 4, และสูงมาก = 5 แล้วจึงหาค่ารวมของแต่ละปัจจัย โดยจุดแข็ง และโอกาสใช้เครื่องหมายบวก (+) ส่วนจุดอ่อนและอุปสรรคใช้เครื่องหมายลบ (-)

4) เทคนิคการจับคู่ การจับคู่ (SWOT matching) เป็นเทคนิคที่ดัดแปลงมาจาก งานของ David (1996) เทคนิคการจับคู่ใช้ในการสร้างกลยุทธ์ทางเลือก โดยใช้วิธีการจับคู่ที่ละคู่ระหว่างปัจจัยจุดอ่อนและโอกาส จุดอ่อน และอุปสรรคจุดแข็งและโอกาส จุดแข็งและอุปสรรค ทั้งนี้ ในการจับคู่แต่ละครั้งอาจจะใช้ปัจจัยหลายตัวก็ได้ หรือโดยตัวมันเองอาจไม่จับคู่กับตัวใดเลยก็ได้ จากการใช้เทคนิคนี้พบว่า กลยุทธ์ที่ได้มีความละเอียดและเป็นจุดเล็ก ๆ จึงต้องจัดกลุ่มกลยุทธ์ที่คล้ายกัน แล้วสังเคราะห์เป็นกลยุทธ์ทางเลือก
5) การจัดลำดับความสำคัญ เทคนิคการจับคู่เปรียบเทียบแบบพบกันหมดช่วยในการจัดลำดับความสำคัญของกลยุทธ์ โดยเฉพาะเมื่อมีกลยุทธ์ที่ต้องการเปรียบเทียบจำนวนมาก เทคนิคการจับคู่เปรียบเทียบนี้จะช่วยให้การเปรียบเทียบกระทำได้ง่ายขึ้น การจับคู่เปรียบเทียบกระทำโดยกลยุทธ์แต่ละตัวจะถูกเปรียบเทียบกับตัวอื่น ๆ เช่น กลยุทธ์ที่หนึ่งเปรียบเทียบกับกลยุทธ์ที่สอง กลยุทธ์ที่หนึ่งเปรียบเทียบกับกลยุทธ์ที่สาม และสืบเนื่องกันไปจนกระทั่งกลยุทธ์ทุกตัวถูกเปรียบเทียบระหว่างกัน กลยุทธ์ที่ถูกเลือกมากที่สุดจะเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่สุด และกลยุทธ์ที่ถูกเลือกอันดับต่อไปก็จะสำคัญรองลงไปตามลำดับ
6) บรรยากาศผ่อนคลาย การสร้างบรรยากาศผ่อนคลาย เป็นกันเอง และมีกิจกรมคลายเครียด เป็นสิ่งจำเป็นมาก การพักดื่มน้ำเย็น ชา กาแฟ ก็ช่วยให้ผู้เข้าร่วมผ่อนคลายได้ การเล่าเรื่องตลก หรือการพูดจากสนุกสนานช่วยทำให้บรรยากาศดีขึ้น

6.จงอธิบายขั้นตอนของการวิเคราะห์สถานศึกษา พร้อมยกตัวอย่าง
ขั้นตอนกระบวนการวิเคราะห์ สถานศึกษา
1 สภาพแวดล้อมภายนอก(external environment) ซึ่งประกอบด้วย
1.1 สภาพแวดล้อมภายนอกทั่วไป (General environment) เป็นสภาพแวดล้อมในระดับกว้างมีผลกระทบโดยอ้อมต่อการดำเนินงานของสถานศึกษา จะต้องวิเคราะห์ปัจจัยหลัก 4 ด้าน หรือเรียกโดยย่อว่า “STEP” ได้แก่
1.1.1ปัจจัยด้านสังคมวัฒนธรรม (Socio-cultural factors : S) เช่น โครงสร้างของ ประชากร การเคลื่อนย้าย อาชีพ การศึกษา ค่านิยม ความเชื่อ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี เจตคติ พฤติกรรมที่มีผลกระทบทั้งในทางลบและทางบวกต่อสถานศึกษา
1.1.2 ปัจจัยด้านเทคโนโลยี (Technological factors : T) เช่น การคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เครื่องยนต์เครื่องจักร คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ ซึ่งมีผลกระทบต่อการดำเนินภารกิจของสถานศึกษาทั้งในทางลบและทางบวก
1.1.3 ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ (Economics factors: E) เช่น โครงสร้างรายได้ รายได้ประชาชาติ ภาวะเงินเฟ้อ ภาวการณ์ว่างงาน รายได้ของประชากร ที่มีผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบต่อการดำเนินงานของสถานศึกษา
1.1.4 ปัจจัยด้านการเมืองและกฎหมาย (Political and legal factors : P) เช่น กฎหมายที่เกี่ยวข้อง นโยบายของรัฐบาล นโยบายของกระทรวง นโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา ประกาศกระทรวง กฎกระทรวง มติคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อการปฏิบัติภารกิจของสถานศึกษา
1.2 สภาพแวดล้อมเชิงปฏิบัติการ (Operating environment) เป็นสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของสถานศึกษา นอกจากการพิจารณาทางด้านสังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี เศรษฐกิจ และการเมืองแล้ว ยังจะต้องพิจารณาองค์ประกอบสำคัญอื่น ได้แก่
1.2.1 สภาพปัญหาที่เกี่ยวกับภารกิจโดยตรงของสถานศึกษา
1.2.2 ลักษณะของกลุ่มสังคมผู้รับผลประโยชน์และผู้รับบริการ ได้แก่ ผู้ปกครอง นักเรียน ชุมชน
1.2.3 ภาระงานที่ต้องการเร่งด่วน
1.2.4 ความพร้อมของสถานการณ์ในการจัดการศึกษาในปัจจุบัน
1.2.5 ความร่วมมือของกลุ่มบุคคล ผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจดำเนินงานของโรงเรียน รวมทั้งเจตคติของประชาชน ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกจะพิจารณาถึงโอกาส(Opportunities) และ ภัยคุกคามหรืออุปสรรค(Threats) ยังจะต้องคำนึงถึงคู่แข่งด้วยว่าเป็นอย่างไร
2. สภาพแวดล้อมภายใน(internal environment) ประกอบด้วย
2.1 จุดแข็ง (Strengths) หมายถึง ปัจจัยหรือองค์ประกอบหลักของสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาที่เป็นข้อดีหรือข้อเด่น หรือจุดแข็งที่ส่งผลให้การดำเนินการของสถานศึกษาได้รับผลผลิตในด้านที่ดี เช่น มีระบบโครงสร้างการบริหารงานที่ดีมีคุณภาพ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์สูง (ผู้ปกครองพึงพอใจ) มีครู – อาจารย์สอนครบทุกรายวิชา ครูทุกคนมีความรู้ ความสามารถตั้งใจปฏิบัติหน้าที่เต็มศักยภาพ มีงบประมาณอย่างเพียงพอต่อการเรียนการสอน มีระบบการบริหารโครงการที่ดีมีคุณภาพ ผู้บริหารมีความสามารถในการบริหารสูง
2.2 จุดอ่อน (Weakness) หมายถึง ปัจจัยหรือองค์ประกอบหลักของสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาที่เป็นจุดอ่อนก็ส่งผลให้การดำเนินงานของโรงเรียนได้รับผลผลิต ที่ไม่คุ้มค่า หรือผลเสียหาย เช่น การปฏิบัติงานโดยไม่มีการวางแผน นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำมาก ครูมีคาบสอนมากเกินไป ใช้งบประมาณไม่คุ้มค่าที่ในแต่ละปีได้รับงบประมาณ เพียงน้อยนิด ขาดแคลน สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ การเรียนการสอนที่ทันสมัย มีระบบการบริหารจัดการที่ขาดประสิทธิภาพ
ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อการดำเนินงานของสถานศึกษา ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยหลัก 6 ด้าน ในการวิเคราะห์เรียกโดยย่อว่า “2S4M” ได้แก่
(1) โครงสร้างและนโยบายของสถานศึกษา (Structure and policy : S) ได้แก่ โครงสร้างซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดรูปแบบการบริหารงาน การแบ่งกลุ่มงาน การจัดสายการบังคับบัญชา การกำกับควบคุมตามสายงาน เครือข่ายการสื่อสารภายในสถานศึกษา และนโยบายที่รับมาจากหน่วยเหนือและ/หรือนโยบายที่สถานศึกษากำหนดเอง ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินงาน
(2) การให้บริการและคุณลักษณะของผู้เรียน (Service and Products : S) ได้แก่ ความทั่วถึงและครอบคลุมพื้นที่การให้บริการ การสร้างความสามารถในการบริการทางวิชาการแก่ผู้เรียน การจัดให้มีแหล่งเรียนรู้ การจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะด้านต่างๆของผู้เรียน การให้ความร่วมมือกับชุมชน การผลิตนักเรียนที่มีความสามารถทางวิชาการ การเสริมสร้างคุณลักษณะให้ผู้เรียนเป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข มีคุณธรรมจริยธรรม
(3) บุคลากร (Man : M1) ได้แก่ ความพอเพียงของอัตรากำลัง ความรู้ความสามารถที่สอดคล้องกับตำแหน่งหน้าที่ การกำหนดตำแหน่ง การบรรจุ แต่งตั้ง การโอนย้าย ความก้าวหน้า ในตำแหน่งหน้าที่ การให้ค่าตอบแทน การจัดสวัสดิการ ระบบบำเหน็จบำนาญ จุดสำคัญของการวิเคราะห์ในด้านนี้คือ การมีเพียงพอ และมีคุณวุฒิตรงตามภารกิจการสอน
(4) การเงิน (Money : M2) ได้แก่ ฐานะทางการเงินของสถานศึกษา งบประมาณหรือรายได้ รายรับรายจ่าย ความคล่องตัวในการเบิกจ่าย ความสามารถในการระดมทุนจากภายนอก การหารายได้ของสถานศึกษา การได้รับความร่วมมือช่วยเหลือจากแหล่งต่างๆ การใช้เงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด
(5) วัสดุอุปกรณ์ (Material : M3) ได้แก่ ความเพียงพอของสื่อ วัสดุ ครุภัณฑ์ อาคารสถานที่ ความสามารถในการใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด การจัดหา การจัดซื้อจัดจ้าง การใช้งาน การดูแลรักษา การซ่อมบำรุง การจัดจำหน่าย
(6) การบริหารจัดการ (Management : M4) ได้แก่ความสามารถในการวางแผน การปฏิบัติตามแผน การกำกับติดตามประเมินผล การบริหารจัดการเพื่อให้เกิดส่วนร่วม การสร้างทีมงาน การมีภาวะผู้นำของผู้บริหาร การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สถานศึกษา
เมื่อสถานศึกษาทราบว่า จุดแข็ง จุดอ่อน หรืออุปสรรค ปัจจัยใดส่งผลกระทบทั้งในด้านให้เกิดความสำเร็จ (+) และผลเสียหาย (-) มากหรือน้อยตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วและการทำให้เกิดค่าของผลกระทบเหล่านั้นจะทำให้รู้ว่า โดยภาพรวมแล้วสถานศึกษามีสถานภาพเป็นอย่างไร ในรูป 4 รูปแบบ คือ ดังตัวอย่าง
รูปแบบที่ 1 ถ้าสถานศึกษาใดสภาพแวดล้อมภายในมีความเข้มแข็ง (+) และมีสภาพแวดล้อมภายนอกเอื้ออำนวย (+)
การวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่าสถานศึกษานั้นมีความพร้อม มีศักยภาพภายในการจัด กิจกรรมการเรียนการสอนสูง กลยุทธ์ในการทำงานก็จะต้องมีแนววิธีในด้านการเพิ่มขยายหรือสร้างสถานศึกษาให้มีความเป็นเลิศในด้านต่าง ๆ ได้ง่าย
รูปแบบที่ 2 ถ้าสถานศึกษาใดมีสภาพแวดล้อมภายในมีความเข้มแข็ง (+) และมีสภาพแวดล้อมภายนอกเป็นอุปสรรค (-)
การวิเคราะห์ ชี้ให้เห็นว่าสถานศึกษานั้นมีปัจจัยการดำเนินงานภายในที่มีความพร้อมเข้มแข็งแต่ปัจจัยภายนอกไม่เอื้ออำนวย ไม่สามารถสนับสนุนได้ในขณะนั้น กลยุทธ์ในการปฏิบัติงานก็จะต้องมีแนววิธีในด้านการปรับปรุงพัฒนารักษาสถานภาพ และภายนอกพร้อมจะให้มีโอกาสเมื่อไรก็รีบดำเนินการต่อไปสู่รูปแบบที่ 1
รูปแบบที่ 3 ถ้าสถานศึกษาใดมีสภาพแวดล้อมภายในเป็นจุดอ่อน (-) และมีสภาพแวดล้อมภายนอกเป็นโอกาส (+)
การวิเคราะห์ ชี้ให้เห็นว่าสถานศึกษามีปัจจัยในการปฏิบัติงานที่อ่อนแอไม่พร้อม แต่ปัจจัยภายนอกที่พร้อมจะช่วยเหลือและให้การสนับสนุน กลยุทธ์ในการทำงานก็จะต้องมีแนววิธีในการแก้ไข ปรับปรุง พัฒนาภายในที่เป็นจุดด้อยต่าง ๆ ให้เข้มแข็งขึ้นเพื่อนำไปสู่รูปแบบที่ 1
รูปแบบที่ 4 ถ้าสถานศึกษาใดมีสภาพแวดล้อมภายในเป็นจุดอ่อน (-) และมีสภาพแวดล้อมภายนอกเป็นอุปสรรค (-)
O (Opportunities) โอกาส
จุดแข็ง (+) มีโอกาส (+) จุดอ่อน (-) มีโอกาส (+)
เสริมสร้าง, เพิ่ม, ขยาย พัฒนา, ปรับปรุง, แก้ไข
S (Strengths) W (Weaknesses)
จุดแข็ง จุดอ่อน
จุดแข็ง (+) มีอุปสรรค (-) จุดอ่อน มีอุปสรรค (-)
พัฒนา, ปรับปรุง รีบเร่ง, ทบทวน, ปรับปรุง
เพื่อรอโอกาสภายนอกมีความพร้อม
T (Threats) อุปสรรค
แผนภาพ 5 แสดงสถานภาพของสถานศึกษาจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์การ
สภาพแวดล้อมภายนอก คือ 1 โอกาส 2 อุปสรรค
สภาพแวดล้อมภายใน คือ 1 จุดแข็ง 2 จุดอ่อน

4. การวิเคราะห์กำหนดตำแหน่งขององค์กร
การให้น้ำหนักหรือการจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยนั้นจะแบ่งเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกจะเป็นการให้น้ำหนักแก่ปัจจัยภายใน ซึ่งวิธีการที่สะดวกและง่ายที่สุดคือ กำหนดให้บุคลากรที่จะต้องจัดลำดับความสำคัญหรือให้คะแนนในแต่ละคนมี 100 คะแนน และให้ทุกคนนำ 100 คะแนนที่มีอยู่ กระจายให้กับปัจจัยภายในประเด็นต่างๆ ทั้งที่เป็นจุดแข็งและจุดอ่อน โดยการให้คะแนนจะให้มีการให้คะแนนอย่างอิสระ และผลรวมของทุกข้อที่ให้คะแนนของแต่ละคนจะเท่ากับ 100 คะแนน
สำหรับการให้น้ำหนักหรือการจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยภายนอกทั้งที่เป็นโอกาสและอุปสรรคนั้นให้ดำเนินการตามรูปแบบเช่นเดียวกันกับการให้คะแนนหรือจัดลำดับความสำคัญแก่ปัจจัยภายใน ทั้งนี้ในการพิจารณาทั้งปัจจัยภายในและภายนอกว่าปัจจัยใดมีความสำคัญมากน้อยนั้นควร
พิจารณาว่าปัจจัยนั้นๆ มีผลกระทบต่อผลผลิตหรือกระบวนการให้บริการมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจพิจารณาในมุมมองของ Balance Scorecard ก็ได้ เช่น ผลกระทบต่อการให้บริการต่อลูกค้า ผลกระทบต่อระบบการปฏิบัติงานภายใน ผลกระทบการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ตลอดถึงผลกระทบในมิติด้านการเงินของหน่วยงาน เป็นต้น
การนำผลจากการวิเคราะห์สถานภาพหน่วยงานที่ได้ให้น้ำหนักความสำคัญในแต่ละปัจจัย ทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกมากำหนดตำแหน่งขององค์กรและกลยุทธ์ที่เชื่อมโยงสอดคล้องกัน โดยตำแหน่งต่างๆ ของหน่วยงานจะถูกกำหนดไว้ในมิติหรือควอดแดรน (Quadrant)

7.จงอธิบายความหมายของ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และบอกความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
วิสัยทัศน์ (Vision) คือ ภาพในอนาคตขององค์กรที่ผู้นำและสมาชิกทุกคนร่วมกันวาดฝันหรือจินตนาการขึ้น โดยมีพื้นฐานอยู่บนความเป็นจริงในปัจจุบัน เชื่อมโยงวัตถุประสงค์ ภารกิจ ค่านิยม และความเชื่อเข้าด้วยกัน พรรณนาให้เห็นทิศทางขององค์กรอย่างชัดเจน มีพลังท้าทาย ทะเยอทะยาน และมีความเป็นไปได้ เน้นถึงความมุ่งมั่นที่จะทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ หรือดีที่สุดให้กับลูกค้าและสังคมวิสัยทัศน์จะเกี่ยวกับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดทิศทางธุรกิจ เป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการอยู่รอดทางธุรกิจ
พันธกิจ (Mission) คือ ปฏิบัติการที่หน่วยงานจะต้องดำเนินการ เพื่อบรรลุเป้าประสงค์และวิสัยทัศน์ ในการกำหนดพันธกิจนั้น องค์กรจะต้องทราบว่าหน้าที่หรือภารกิจหลักตามกฎหมายที่องค์กรต้องดำเนินการคืออะไรและจำเป็นต้องทราบว่าเป้าประสงค์หรือผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นจากการดำเนินงานคืออะไรพันธกิจจึงเป็นสิ่งที่องค์กรต้องปฏิบัติ (ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย) เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์และวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้
เป้าประสงค์ คือ เป้าประสงค์ หรือวัตถุประสงค์หลักของหน่วยงาน เป็นขอบข่ายของผลสัมฤทธิ์หลักที่หน่วยงานต้องการให้เกิดขึ้นแก่ ประชาชน สังคม หรือประเทศชาติในอนาคตในการกำหนดเป้าประสงค์ หน่วยงานจำเป็นต้องทราบว่า กลุ่มลูกค้าหลักหรือกลุ่มผู้รับบริการของหน่วยงานนั้นคือใครและต้องการให้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร

8.ให้กำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ของสถานศึกษามา1แห่ง
วิสัยทัศน์ โรงเรียนวัดโคกกรวด “ไตรราษฎร์บำรุง” ต.โคกม่วง อ.ภาชี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
โรงเรียนวัดโคกกรวด “ไตรราษฎร์บำรุง” นักเรียนโรงเรียนวัดโคกกรวด “ไตรราษฎร์บำรุง” ต้องมีความสามารถทางด้านวิชาการ รักการเขียนอ่าน สืบสานวัฒนธรรมไทย และท้องถิ่น ใช้เทคโนโลยีเป็น เน้นวินัย และความรับผิดชอบ
พันธกิจ
1. จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดทักษะกระบวนการ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้แหล่งเรียนรู้
2. ปลูกฝัง ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักความเป็นไทย อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
3. ปลูกฝังและส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นได้
4. ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีวินัย และความรับผิดชอบ
เป้าประสงค์
1. ประชากรวัยเรียนทุกคนในเขตบริการ ได้รับการบริการทางการศึกษาอย่างเสมอภาคและทั่วถึง
2. ประชากรวัยเรียนทุกคน ได้รับการบริการทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพมาตรฐานสากล เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข มีความรักและภาคภูมิใจในความเป็นอยุธยา
3. ครูทุกคนสามารถจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
4. โรงเรียนมีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
5. ชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการศึกษา เข้ามามีส่วนร่วมส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาในทุกระดับ มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ

9.จงเปรียบเทียบวิสัยทัศน์ และพันธกิจ ที่ท่านกำหนดขึ้น กับของสถานศึกษาที่มีอยู่แล้ว่างมีความแตกต่าง เหมาะสมและสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้มากน้อยเพียงใด

วิสัยทัศน์
ความแตกต่าง
โรงเรียนวัดโคกสังข์
โรงเรียนวัดโคกกรวด
โรงเรียนวัดโคกสังข์ “ ประชานุกูล “ จัดการศึกษาให้นักเรียน มีคุณธรรม จริยธรรม สติปัญญา เรียนรู้อย่างมีความสุข รักชุมชน รักความเป็นอยุธยา โดยนำเทคโนโลยี ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และผสานความร่วมมือกับชุมชน ในการจัดการศึกษา

นักเรียนโรงเรียนวัดโคกกรวด “ไตรราษฎร์บำรุง” ต้องมีความสามารถทางด้านวิชาการ รักการเขียนอ่าน สืบสานวัฒนธรรมไทย และท้องถิ่น ใช้เทคโนโลยีเป็น เน้นวินัย และความรับผิดชอบ

แตกต่างกันโรงเรียนวัดโคกกรวดเน้นด้านการอ่าน เขียน โรงเรียนวัดโคกสังข์ เน้นให้นักเรียนมีความสุข และนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม
พันธกิจ
ความแตกต่าง
โรงเรียนวัดโคกสังข์
โรงเรียนวัดโคกกรวด
1.จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน โดยใช้เทคโนโลยี และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม
1. จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดทักษะกระบวนการ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้แหล่งเรียนรู้

แตกต่างกันโรงเรียนวัดโคกกรวดเน้นกระบวนการคิด โรงเรียนวัดโคกสังข์ กล่าวในภาพรวมไม่บ่งชี้
2.จัดการศึกษาให้นักเรียนได้รับการพัฒนาตามเกณฑ์มาตรฐานการเรียนรู้อย่างเต็มตามศักยภาพ

2. ปลูกฝัง ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักความเป็นไทย อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย

ไม่แตกต่างกัน และไป สัมพันธ์กับข้อที่2
3.ส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ และคุณธรรม

3. ปลูกฝังและส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นได้
ไม่แตกต่างกัน และไปสัมพันธ์กับข้อที่ 1
4.จัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4. ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีวินัย และความรับผิดชอบ

โรงเรียนวัดโคกสังข์ไม่ระบุตัวคุณธรรม แต่ โรงเรียนวัดโคกกรวดระบุความมีวินัย และความรับผิดชอบ
5.สร้างสัมพันธภาพ และมิตรภาพที่ดีต่อชุมชน

-
แตกต่างโรงเรียนวัดโคกกรวดไม่ได้กำหนด














ตอบคำถามท้ายบท
บทที่7
การพัฒนาแผนกลยุทธ์ และการขับเคลื่อน



โดย
นายทรงชัย เลิศวัฒนาพร
นักศึกษาปริญญาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา
เลขประจำตัว 75079075






เสนอ
ผศ.ดร.ไพโรจน์ อุลิต