วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

เกณฑ์มาตรฐาน และตัวชี้วัดคุณภาพการศึกษา

คำถามท้ายบทที่ 6
เกณฑ์มาตรฐาน และตัวชี้วัดคุณภาพการศึกษา
1. มาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานแบ่งออกเป็นกี่ด้าน และมีกี่มาตรฐานและตัวบ่งชี้ ใช้มาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกในรอบแรกกี่มาตรฐาน
มาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานแบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ 1.มาตรฐานด้านผู้เรียน 2.มาตรฐานด้านกระบวนการ 3.มาตรฐานด้านปัจจัย มี 18 มาตรฐาน 84 ตัวบ่งชี้ การประเมินคุณภาพภายนอกในรอบแรกใช้ 14 มาตรฐาน 53 ตัวบ่งชี้
2. การประกันคุณภาพการศึกษามีกี่ระบบ อะไรบ้าง
การประกันคุณภาพการศึกษามี 2 ระบบ คือ
1. การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน (Internal Quality Assurance) หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันการศึกษาจากภายใน โดยวงจร PDCA(Plan – Do – Check – Act) เป็นการปฏิบัติโดยบุคลากรของสถาบันการศึกษาหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถาบันการศึกษา ประกอบด้วย
1.1 การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) จะประกันว่ามีการปฏิบัติหน้าที่เป็นไปตาม
หน้าที่ความรับผิดชอบ โดยการควบคุมปัจจัยหรือตัวแปรต่างๆ ที่ส่งผลต่อคุณภาพ การควบคุมดังกล่าวเน้นที่
ระบบการกำกับดูแลตนเอง (Self – Regulating System) ในระดับบุคคล กองวิชา กรมนักเรียน/กองการปกครอง และสถาบัน
1.2 การตรวจสอบคุณภาพ (Quality Audit) หมายถึง การตรวจสอบผลการดำเนินการของ
ระบบและกลไกควบคุมคุณภาพการศึกษาภายใน ที่สถาบันการศึกษาได้จัดให้มีขึ้น โดยจะเป็นการตรวจสอบ
เชิงระบบ มุ่งเน้นการพิจารณาว่า สถาบันได้มีระบบควบคุมคุณภาพหรือไม่ ได้ใช้ระบบที่พัฒนา ขึ้นเพียงใด
และมีขั้นตอนการดำเนินการที่จะทำให้เชื่อถือได้หรือไม่ว่าการจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีคุณภาพ
1.3 การประเมินคุณภาพ (Quality Assessment) หมายถึง การประเมินค่าระดับคุณภาพของกิจกรรมเฉพาะอย่างในหน่วยงาน เช่น คุณภาพการจัดการศึกษา คุณภาพของงานวิจัย คุณภาพของการสอน
เป็นต้น โดยมีจุดเน้นที่โปรแกรมวิชา การประเมินจะใช้วิธีการศึกษาตนเอง (Self Study) การประเมินทางวิชาการจากภายนอก (External Peer Review) และการใช้ตัวบ่งชี้วัดพฤติกรรม (Performance Indicators)
๒. การประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก (External Quality Assurance) หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันการศึกษาจากภายนอกโดย สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือบุคคล หรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรอง เพื่อเป็นการประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบัน
การศึกษา ประกอบด้วย
2.1การตรวจสอบคุณภาพที่ผ่านกระบวนการประกันคุณภาพภายใน
2.2 การประเมินคุณภาพ
2.3 การให้การรับรอง
3. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับอะไรบ้าง
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาดังนี้
๑. วัตถุประสงค์ทั่วไป
๑.๑ เพื่อให้ทราบระดับคุณภาพของสถาบันการศึกษาในการดำเนินภารกิจด้านต่างๆ
๑.๒ กระตุ้นเตือนให้สถาบันการศึกษาพัฒนาคุณภาพการศึกษาและประสิทธิภาพการบริหารจัดการอย่าง ต่อเนื่อง
๑.๓ เพื่อให้ทราบความก้าวหน้าของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบันการศึกษา
๑.๔ เพื่อรายงานสภาพและพัฒนาการในด้านคุณภาพและมาตรฐานของสถาบันการศึกษา ต่อสาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๒. วัตถุประสงค์เฉพาะ
๒.๑ เพื่อตรวจสอบยืนยันสภาพจริงในการดำเนินงานของสถาบันการศึกษา และประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ตามกรอบแนวทางและวิธีการที่กำหนด และสอดคล้องกับระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด
๒.๒ เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งช่วยสะท้อนให้เห็น จุดเด่น – จุดที่ควรพัฒนาของสถาบัน การศึกษา เงื่อนไขของความสำเร็จ และสาเหตุของปัญหา
๒.๓ เพื่อช่วยเสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่สถาบันการศึกษาและ หน่วยงานต้นสังกัด
๒.๔ เพื่อส่งเสริมให้สถาบันการศึกษามีการพัฒนาคุณภาพและประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง
๒.๕ เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันการศึกษา
ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน

4. สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจะต้องเตรียมการอย่างไรเพื่อรองรับการประเมินภายนอกจากสำนักงานรับรอง
มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)
การเตรียมรับการประเมิน ภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)
1. ศึกษาเกณฑ์การประเมินจากเอกสารต่างๆเท่าที่หาได้หรือจาก web สมศ. http://www.onesqa.or.th และเตรียมตัวตามเกณฑ์ ตัวบ่งชี้ (ไม่ต้องทำแฟ้มเป็นรายมาตรฐาน) ทั้ง 14 มตฐ.ของสมศ. หรือ 18 มตฐ.ของ สพฐ.
2. จัดระบบงาน คำว่า ระบบ หมายถึง ต้องมีการวางแผน ประชุม มอบหมายงาน ดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย รายงานผลการดำเนินงาน กำกับติดตามและประเมินผลรวมถึงการสรุปผลการดำเนินงาน ต้องมีระบบทั้งงาน ด้านผู้เรียน ครู และผู้บริหาร
3. ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเป็นปกติ งาน/โครงการในโรงเรียนต้องสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการ และแผนต้นทุนผลผลิต จัดทำกิจกรรม เก็บข้อมูลให้เป็นปัจจุบันสม่ำเสมอ เมื่อมีงานตามโครงการก็อนุมานได้ว่า มีความตระหนัก ความพยายามที่จะทำให้งานประสบผลสำเร็จ แต่งาน/โครงการหรือกิจกรรมต้องมีชีวิต คือต้องมีการดำเนินการตลอดปี ในแต่ละครั้งที่ทำงานต้องขออนุมัติจากผู้บริหาร ดำเนินการและรายงานผลให้ผู้บริหารทราบ ผู้บริหารตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะ ปลายปีมีการประเมินโครงการ สรุปผลการดำเนินงาน/โครงการต่างๆ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงหรือพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
4. จัดทำรายงาน SAR จัดทำรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประจำปี ดูรูปแบบได้จากเอกสาร แนวทางการเขียนรายงาน (เล่มสีเขียว) ของสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. ที่ออกเมื่อ มีนาคม 2549
ที่สำคัญที่สุด คือคุณภาพของผู้เรียน ซึ่งจะส่งผลถึงครูและผู้บริหาร คณะครูทั้งโรงเรียนคงต้องช่วยกันทำให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรให้จงได้ ซึ่งเรื่องนี้ต้องใช้ความพยายามและเวลาเป็นอย่างมาก ซึ่งต้องทำทั้งโรงเรียน ไม่ใช่คนใดคนหนึ่งชั้นใดชั้นหนึ่งทำ เพราะเขาดูภาพรวมของโรงเรียน

5. มาตรฐานการศึกษาของชาติมีมาตรฐานและตัวบ่งชี้อะไรบ้าง
มาตรฐานการศึกษาของชาติ มี3 มาตรฐานและ 11 ตัวบ่งชี้ ได้แก่
มาตรฐานที่ 1 คุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ ทั้งในฐานะพลเมืองและพลโลก (5 ตัวบ่งชี้)มาตรฐานที่ 2 แนวการจัดการศึกษา (3 ตัวบ่งชี้)มาตรฐานที่ 3 แนวการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้/สังคมแห่งความรู้ ( 3 ตัวบ่งชี้)
มาตรฐานการศึกษาของชาติมีมาตรฐานและตัวบ่งชี้
มาตรฐานที่ 1 คุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ ทั้งในฐานะพลเมืองและพลโลกการศึกษาต้องพัฒนาคนไทยทุกคนให้เป็น “คนเก่ง คนดี และมีความสุข” ตามตัวบ่งชี้ดังต่อไปนี้
ตัวบ่งชี้
1. กำลังกาย กำลังใจที่สมบูรณ์
1.1 คนไทยมีสุขภาพกายและจิตที่ดี มีพัฒนาการด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ตามเกณฑ์การพัฒนาในแต่ละช่วงวัย
2. ความรู้และทักษะที่จำเป็นและเพียงพอในการดำรงชีวิตและการพัฒนาสังคม
2.1 คนไทยได้เรียนรู้ เต็มตามศักยภาพของตนเอง
2.2 คนไทยมีงานทำ และนำความรู้ไปใช้ในการสร้างงานและสร้างประโยชน์ให้สังคม
3. มีทักษะการเรียนรู้และการปรับตัว
3.1 คนไทยสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้ รู้ทันโลกรวมทั้งมีความสามารถในการใช้แหล่งความรู้และสื่อต่าง ๆ เพื่อพัฒนาตนเองและสังคม3.2 คนไทยสามารถปรับตัวได้ มีมนุษย์สัมพันธ์ดี และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
4. มีทักษะทางสังคม
4.1 คนไทยเข้าใจและเคารพในธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและสังคม มีทักษะและความสามารถ ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข
4.2 คนไทยมีความรับผิดชอบ เข้าใจ ยอมรับและตระหนักในคุณค่า ของวัฒนธรรมที่แตกต่างกันสามารถแก้ปัญหาในฐานะสมาชิกของสังคมไทยและสังคมโลกโดยสันติวิธี
5. มีคุณธรรม จิตสาธารณะ และจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก
5.1 คนไทยดำเนินชีวิตโดยกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต
5.2 คนไทยมีความรับผิดชอบทางศีลธรรมและสังคม มีจิตสำนึก ในเกียรติภูมิของความเป็นคนไทย มีความภูมิใจในชนชาติไทย รักแผ่นดินไทย และปฏิบัติตนตามระบอบประชาธิปไตย เป็นสมาชิกที่ดี เป็นอาสาสมัคร เพื่อชุมชนและสังคมในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก
มาตรฐานที่ 2 แนวการจัดการศึกษา จัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญและการบริหาร โดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน
ตัวบ่งชี้
1. การจัดหลักสูตรการเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
1.1 มีการจัดหลักสูตรที่หลากหลายตามความเหมาะสม ความต้องการและศักยภาพของกลุ่มผู้เรียนทุกระบบ
1.2 ผู้เรียนมีโอกาส/สามารถเข้าถึงหลักสูตรต่างๆ ที่จัดไว้อย่างทั่วถึง
1.3 องค์กรที่ให้บริการทางการศึกษามีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีอาคารสถานที่ มีการส่งเสริมสุขภาพอนามัย และความปลอดภัย
1.4 มีการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ สื่อเพื่อการเรียนรู้ และการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศทุกรูปแบบที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
2. มีการพัฒนาผู้บริหาร ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ
2.1 ผู้บริหาร ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการและวิชาชีพ
2.2 ผู้บริหาร ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษามีคุณธรรม มีความพึงพอใจในการทำงาน และผูกพันกับงาน มีอัตราการออกจากงานและอัตราความผิดทางวินัยลดลง
2.3 มีแนวโน้มในการรวมตัวจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อสร้างเกณฑ์มาตรฐานเฉพาะกลุ่ม และติดตามการดำเนินงานของบุคลากรและสถานศึกษา ตลอดจนการสั่งสมองค์ความรู้ที่หลากหลาย
3. มีการบริหารจัดการที่ใช้สถานศึกษาเป็นฐาน
3.1 องค์กร ชุมชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามสภาพท้องถิ่น บุคลากรทั้งในและนอกสถานศึกษา สภาพปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน
3.2 ผู้รับบริการ/ผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่มมีความพึงพอใจต่อการจัดบริการทางการศึกษาของสถานศึกษา
3.3 มีการกำหนดระบบประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพ และสามารถรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกได้

มาตรฐานที่ 3 แนวการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้/สังคมแห่งความรู้ “การสร้างวิถีการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ให้เข้มแข็ง”
ตัวบ่งชี้
1. การบริการวิชาการและสร้างความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับชุมชนให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้/สังคมแห่งความรู้
1.1 สถานศึกษาควรร่วมมือกับบุคลากรและองค์กรในชุมชนที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทุกระดับ ร่วมจัดปัจจัยและกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน และให้บริการทางวิชาการที่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาคนในชุมชน เพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญา และคนไทยมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต
1.2 ชุมชนซึ่งเป็นที่ตั้งขององค์กรที่ให้บริการทางการศึกษามีสถานภาพเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้/สังคมแห่งความรู้ มีความปลอดภัย ลดความขัดแย้ง มีสันติสุข และมีการพัฒนาก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
2. การศึกษาวิจัย สร้างเสริม สนับสนุนแหล่งการเรียนรู้ และกลไกการเรียนรู้
2.1 มีการศึกษาวิจัย สำรวจ จัดหา และจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ
2.2 ระดมทรัพยากร (บุคลากร งบประมาณ อาคารสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก ภูมิปัญญาและอื่นๆ) และความร่วมมือจากภายในและภายนอกสถานศึกษา ในการสร้างกลไกการเรียนรู้ทุกประเภท เพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ และสามารถเรียนรู้ตลอดชีวิตได้จริง
2.3 ส่งเสริมการศึกษาวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อการพัฒนาประเทศ
3. การสร้างและการจัดการความรู้ในทุกระดับทุกมิติของสังคม
3.1 ครอบครัว ชุมชน องค์กรทุกระดับ และองค์กรที่จัดการศึกษามีการสร้างและใช้ความรู้ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จนกลายเป็นวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้

6. ความสำเร็จของการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง
ความสำเร็จของการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญขึ้นอยู่กับ ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการจัดการศึกษา อาจสรุปได้ดังนี้
ปฏิรูปการศึกษาให้เหมาะสมกับสภาพความเปลี่ยนแปลงและ บริบทของสังคมไทยโดยเน้นการปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอน การปฏิรูปหลักสูตร การปฏิรูปวิชาชีพครู และบุคลากรทางการศึกษา และการปฏิรูประบบบริหารและ การจัดการ

7. การพัฒนาผู้บริหาร ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างเป็นระบบ และมีคุณภาพควรดำเนินการอย่างไรบ้าง 1. กำหนดนโยบายและแนวทางการพัฒนาของสถาบัน เพื่อให้ นำไปปฏิบัติให้เป็นแนวทางเดียวกันเพื่อให้มีการพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง 2. จำทำคู่มือ การพัฒนาของสถาบัน และคู่มือหรือแนวทางในการปฏิบัติงาน 3. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาของสถาบัน เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในรูปแบบต่างๆ ทั้งด้านการจัดประชุม สัมมนา ศึกษาเอกสาร ดูงาน ฯลฯ 4. ติดตามตรวจสอบให้มีการจัดทำรายงานการศึกษาพัฒนาตนเอง 6. กำหนดองค์ประกอบที่พึงได้รับ ด้วยการควบคุม ตรวจสอบ และประกันคุณภาพ
8.กระทรวงศึกษาธิการมีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในไว้กี่ด้าน อะไรบ้าง
กระทรวงศึกษาธิการมีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในไว้4ด้าน คือ
1.มาตรฐานด้านคุณภาพเด็ก
2.มาตรฐานด้านด้านการจัดการเรียนรู้
3.มาตรฐานด้านบริหาร และการจัดการศึกษา
4.มาตรฐานด้าน การพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้

9.กระทรวงศึกษาธิการมีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยไว้กี่ด้าน แต่ละด้านมีกี่มาตรฐาน
กระทรวงศึกษาธิการมีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยไว้ 4 ด้าน คือ
1.มาตรฐานด้านคุณภาพเด็ก มี 8 มาตรฐาน
2.มาตรฐานด้านการเรียนรู้ มี 2 มาตรฐาน
3.มาตรฐานด้านการบริหารและการจัดการศึกษา มี 6 มาตรฐาน
4.มาตรฐานด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ มี 2 มาตรฐาน

10.มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย ต้องการให้เด็กมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์มีตัวชี้วัดอะไรบ้าง
ตัวชี้วัด มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย ต้องการให้เด็กมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ คือ
มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์
1.1 มีวินัยมีความรับผิดชอบ และปฏิบัติตนตามหลักธรรมเบื้องต้นของศาสนาที่ตนนับถือ
1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต
1.3 มีความกตัญญูกตเวที
1.4 มีเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละเพื่อส่วนรวม
1.5 ประหยัด รู้จักใช้ทรัพย์สิ่งของส่วนตัวและส่วนรวมอย่างคุ้มค่า
1.6 ภูมิใจในความเป็นไทย เห็นคุณค่าภูมิปัญญาไทย นิยมไทยและดำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย

11.มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย มีความแตกต่างกัน ในมาตรฐานใดบ้าง
ตารางเปรียบเทียบ ความแตกต่างมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย
มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย
ความแตกต่าง
แตกต่าง
ไม่แตกต่าง
มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์
มาตรฐานที่ 1 เด็กมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์

P
มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานที่ 2 เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม

P
มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สมามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
มาตรฐานที่ 3 เด็กสามารถทำงานจนสำเร็จ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีความรู้สึกที่ดีต่อต่ออาชีพสุจริต

P
มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณมีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์
มาตรฐานที่ 4 เด็กสามารถคิดรวบยอด คิดแก้ปัญหา และคิดริเริ่มสร้างสรรค์

P

มาตรฐานที่ 5 ผู้เรียนมีความรู้ทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร
มาตรฐานที่ 5 เด็กมีความรู้และทักษะเบื้องต้น
P

มาตรฐานที่ 6 ผู้เรียนมีทักษะแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
มาตรฐานที่ 6 เด็กมีความสนใจใฝ่รู้ รักการอ่าน และพัฒนาตนเอง

P
มาตรฐานที่ 7 ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
มาตรฐานที่ 7 เด็กมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี

P
มาตรฐานที่ 8 ผู้เรียนมีสุนทรียภาพ และลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา
มาตรฐานที่ 8 เด็กมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว

P





มาตรฐานด้านการเรียนการสอน
มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย
ความแตกต่าง
แตกต่าง
ไม่แตกต่าง
มาตรฐานที่ 9 ครูมีคุณธรรม จริยธรรม มีวุฒิ /ความรู้ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบ
หมั่นพัฒนาตนเอง เข้ากับชุมชนได้ และมีครูเพียงพอ
มาตรฐานที่ 9 ครูมีคุณธรรม จริยธรรม มีวุฒิ/ความรู้ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบ หมั่นพัฒนาตนเอง เข้ากับชุมชนได้ดี และมีครูพอเพียง

P
มาตรฐานที่ 10 ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และเน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ
มาตรฐานที่ 10 ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และเน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญ

P
มาตรฐานด้านการบริหารและจัดการศึกษา
มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย
ความแตกต่าง
แตกต่าง
ไม่แตกต่าง
มาตรฐานที่ 11 ผู้บริหารมีคุณธรรม จริยธรรม มีภาวะผู้นำ และมีความสามารถในการบริหาร
จัดการ
มาตรฐานที่ 11 ผู้บริหารมีคุณธรรมจริยธรรม มีภาวะผู้นำ และมีความสามารถในการบริหาร จัดการศึกษา

P
มาตรฐานที่ 12 สถานศึกษามีการจัดองค์กร โครงสร้างและการบริหารงานอย่างเป็นระบบ ครบวงจร
มาตรฐานที่ 12 สถานศึกษามีการจัดองค์กร โครงสร้าง ระบบการบริหารงานและพัฒนาองค์กรอย่างเป็นระบบครบวงจร

P
มาตรฐานที่ 13 สถานศึกษามีการบริหารและจัดการศึกษาโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน
มาตรฐานที่ 13 สถานศึกษามีการบริหาร และจัดการศึกษาโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน

P
มาตรฐานที่ 14 สถานศึกษามีการจัดหลักสูตร และกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มาตรฐานที่ 14 สถานศึกษามีการจัดการหลักสูตร และประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นเด็ก เป็นสำคัญ

P
มาตรฐานที่ 15 สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย
มาตรฐานที่ 15 สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพเด็กอย่างหลากหลาย

P
มาตรฐานที่ 16 สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนตามธรรมชาติเต็มศักยภาพ
มาตรฐานที่ 16 สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อม และการบริการที่ส่งเสริมให้เด็กพัฒนา ตามธรรมชาติเต็มศักยภาพ

P

มาตรฐานด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้
มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย
ความแตกต่าง
แตกต่าง
ไม่แตกต่าง
มาตรฐานที่ 17 สถานศึกษามีการสนับสนุนและใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
มาตรฐานที่ 17 สถานศึกษามีการสนับสนุน และใช้แหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาในท้องถิ่น

P
มาตรฐานที่ 18 สถานศึกษามีการร่วมมือระหว่างบ้าน องค์กรทางศาสนา สถาบันทางวิชาการและองค์กรภาครัฐและเอกชน เพื่อพัฒนาวิถีการเรียนรู้ในชุมชน
มาตรฐานที่ 18 สถานศึกษามีการร่วมมือกันระหว่างบ้าน องค์กรทางศาสนา สถาบันทางวิชาการและองค์กร ภาครัฐและเอกชน เพื่อพัฒนาวิถีการเรียนรู้ในชุมชน

P

สรุป ความแตกต่างมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย นั้น แตต่างกันน้อยมากตามรายมาตรฐาน แต่บางมาตรฐานจะแตกต่างกันอย่างชัดเจนในตัวบ่งชี้

12.จากสาระของหน่วยการเรียนรู้นี้ ขอให้ศึกษามาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ ที่สถานศึกษาของตนที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาพิจารณาว่า สถานศึกษาในขณะนี้ มีปัญหาในมาตรฐานอะไร และให้นำมาอภิปราย หาสาเหตุและแนวทางแก้ไข
จากสาระของหน่วยการเรียนรู้นี้ มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ ที่สถานศึกษา พิจารณาแล้วว่า ใน
มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์
สาเหตุที่มาจากกระบวนการเรียนการสอน และกระบวนการบริหารการศึกษา ไม่ได้เน้นตามนโยบายการจัดการศึกษา ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ และควบคุมโดยกระบวนการนิเทศ
โรงเรียนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามตัวบ่งชี้ของมาตรฐานที่ 4 โดยดำเนินกิจกรรมต่อไปนี้
1. โครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โดยในปีการศึกษา 2550 ได้ให้จัดทำแผนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อย่างน้อยคนละ 1 กลุ่มสาระวิชา โดยเน้นกลุ่มสาระวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาไทย ส่งเสริมให้นักเรียนมีความสามารถในด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน การสร้างเครื่องมือการวัดผลประเมินผล และตรวจภาระงานการสอนด้วยกระบวนการนิเทศ
2.โครงการหนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม โดยจัดทำนวัตกรรม และงานวิจัยในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ของนักเรียน
3. โครงการสร้างสรรค์การศึกษา โดยติดต่อประสานงานกับชุมชน และอบต.โคกม่วงให้สนับสนุนสื่อการเรียนการสอน โดยเน้นสื่อทางด้านคอมพิวเตอร์ การจัดระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อการสืบค้นความรู้ การติดตั้งชุดจานรับสัญญาณดาวเทียม เพื่อรับรายการการโทรทัศน์ทางไกล และการติดต่อจากหน่วยงานอื่นๆเพื่อพัฒนาห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ ทั้งภายในและนอกโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์

.................................................................................

















































ตอบคำถามท้ายบท
บทที่ 6 เกณฑ์มาตรฐาน และตัวชี้วัดคุณภาพการศึกษา




โดย
นายทรงชัย เลิศวัฒนาพร
นักศึกษาปริญญาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา
เลขประจำตัว 75079075






เสนอ
ผศ.ดร.ไพโรจน์ อุลิต