วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

โรงเรียนสีชมพู




เปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2552 ทางโรงเรียนได้ดำเนินการปรับปรุง แหล่งเรียนรู้ และภูมิทัศน์ให้สวยงามน่าอยู่ขึ้น เพื่อเป็นการต้อนรับการเปิดศูนย์อนุบาล 3 ขวบ

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

การจัดการองค์การ เพื่อการจัดการคุณภาพ

คำถามท้ายบทที่ 8
การจัดการองค์การ เพื่อการจัดการคุณภาพ
======================================================
1.เพราะเหตุใดจึงต้องจัดให้มีองค์การประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก มีองค์กรสำคัญอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับ สถานศึกษาของท่าน
สาเหตุที่ต้องจัดให้มีองค์การประกันคุณภาพการศึกษาภายนอกเพราะพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวด 6 มาตรา 49 ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มีฐานะเป็นองค์การมหาชนทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา โดยคำนึงถึงความมุ่งหมายและหลักการ และแนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปีนังตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธาณชน
องค์กรที่สำคัญในการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอกคือสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)

2.การจัดการคุณภาพมีหลักการสำคัญอะไรบ้าง จงระบุมา 3 ประการพร้อมอธิบาย
1.การมุ่งเน้นความสำคัญของลูกค้า (Customer Focus) การทำงานทุกขั้นตอนมุ่งความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ
2.การปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Process Improvement) เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น จะต้องมีกระบวนการปรับปรุงกระบวนการทำงานอยู่เสมอโดยใช้วงจร PDCA
3.การให้ทุกคนมีส่วนร่วม (Total Involvement) ทุกคนในองค์กรมีหน้าที่ชัดเจน และต้องรับผิดชอบภาระงานที่ได้รับมอบหมาย และผลการปฏิบัติงานโดยรวมทั้งหน่วยงานรวมกัน

3.ขั้นตอนสำคัญๆ ในการดำเนินการเป็นองค์การจัดการคุณภาพทั้งระบบมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ขั้นตอนสำคัญๆ ในการดำเนินการเป็นองค์การจัดการคุณภาพทั้งระบบมีดังนี้
1.ขั้นเริ่มต้น เป็นเรื่องของการเตรียมความพร้อมในด้านบุคลากรทรัพยากรการวางแผน การอำนวยการ และการควบคุม
2.ขั้นควบคุมคุณภาพเป็นขั้นตอนของการประเมินปัจจุบัน เพื่อแก้ไขสิ่งที่บกพร่องในอดีต เพื่อให้ได้ข้อมูลมาเพื่อการตัดสินใจ
3.ขั้นประกันคุณภาพ เป็นขั้นที่พร้อมจะรับการตรวจประเมินทั้งภายในและภายนอก โดยต้องจัดทีมงานขึ้นมาอีกชุดหนึ่งเพื่อทำการประเมินและส่งผลย้อนกลับเพื่อการเปลี่ยนแปลง
4.ขั้นจัดการคุณภาพทั้งระบบโดยปฏิบัติตามคู่มือปฏิบัติงาน และสามารถยึดหยุ่นได้ตามสภาพการณ์ หรือเงื่อนไข และปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง

4.ในการสร้างระบบคุณภาพ มีสิ่งสำคัญอะไรบ้างที่ต้องดำเนินการ จงยกตัวอย่างมา 3 ประการพร้อมคำอธิบาย
ในการสร้างระบบคุณภาพ สิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการได้แก่
1.ระบบงาน โดยจัดให้มีเอกสารคู่มือการดำเนินงาน เช่น คู่มือมาตรฐานคุณภาพของสถานศึกษา คู่มือการประเมินและควบคุม เครื่องมือในการประเมิน โดยกระบวนการทั้งหมดต้องมีการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ
2การจัดการทรัพยากรได้แก่ จัดวางตัวบุคลให้เมาะสมกับความสามารถ การเสริมสร้างบรรยากาศในการทำงาน การเงิน และการจัดระบบสารสนเทศ
3.การติดตามและประเมินผล ได้แก่ การประเมินผลการศึกษา ประเมินผลการจัดการเรียนรู้ ประเมินผลการปฏิบัติงาน การตรวจสอบภายใน การตรวจการประเมินจากภายนอก
และภายหลังการประเมิน ต้องนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับปรุงพัฒนาต่อไป

5.การจัดการทรัพยากรที่เป็นเคล็ดลับสำคัญในความสำเร็จในการจัดการคุณภาพท่านเห็นว่าเรื่องใดสำคัญที่สุด จงยกตัวอย่างมา 3 ประการพร้อมคำอธิบาย
การจัดการทรัพยากรที่เป็นเคล็ดลับสำคัญในความสำเร็จในการจัดการคุณภาพข้าพเจ้าเห็นว่าเรื่องทรัพยากร
ที่สำคัญที่สุด ได้แก่
1.ทรัพยากรบุคคล“คน” ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นแหล่งความรู้ และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
2.การเงิน เพราะงบประมาณเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารงาน เพราะงบประมาณมีบทบาทในการควบคุมงานก็ได้ หรืออาจมีบทบาทสำคัญในการวางแผนงาน
3.ระบบสารสนเทศ.“เทคโนโลยี” เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้อย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น

6.ผลผลิตทางการศึกษาคืออะไร ควรมีลักษณะอย่างไร จงอธิบาย
ผลผลิตทางการศึกษาคือการจบการศึกษาของนักเรียนที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล กล่าวคือ เป็นคนดี เก่ง และมีความสุข

7.การติดตามประเมินผลคืออะไร มีความสำคัญอย่างไรต่องานจัดการคุณภาพ จงอธิบาย
การติดตามประเมินผลคือการตรวจสอบ การควบคุมงานเป็นกิจกรรมที่ให้ได้มาซึ่งข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจ ความสำคัญต่องานจัดการคุณภาพคือ เป็นข้อมูลย้อนกลับเพื่อที่จะไปแก้ปัญหาที่สาเหตุจากกระบวนการ และทรัพยากร

8.นอกเหนือจากขั้นตอนการพัฒนาเข้าสู่การเป็นองค์กรจัดการคุณภาพ ทั้งระบบที่กล่าวมาแล้ว ท่านคิดว่าขั้นตอนการปฏิบัติที่ค่อนข้างละเอียดในการจัดเป็นองค์การจัดการคุณภาพ ทั้งระบบควรมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ขั้นตอนการปฏิบัติ ในการจัดเป็นองค์การจัดการคุณภาพ ทั้งระบบควรมีดังนี้
1.ผู้บริหารควรสร้างความเข้าใจเพื่อให้เกิดความตระหนักในเรื่องของคุณภาพให้กับบุคลากรทุกคน
2.กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติให้ชัดเจนมีนโยบายที่เน้นเรื่องคุณภาพ
3.เปลี่ยนแนวความคิดเก่าๆ ของทุกคนเกี่ยวกับการบริหารคุณภาพ
4.องค์กรต้องมีปรัชญาเรื่องของคน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่าในหน่วยงาน
5.เน้นเรื่องการฝึกอบรม
6.เน้นการทำงานเป็นทีม
7.ผู้บริหารระดับสูงต้องให้การสนับสนุน และแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรม

============================================





















ตอบคำถามท้ายบท
บทที่8
การพัฒนาแผนกลยุทธ์ และการขับเคลื่อน



โดย
นายทรงชัย เลิศวัฒนาพร
นักศึกษาปริญญาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา
เลขประจำตัว 75079075






เสนอ
ผศ.ดร.ไพโรจน์ อุลิต

การพัฒนาแผนกลยุทธ์ และการขับเคลื่อน

คำถามท้ายบทที่ 7
การพัฒนาแผนกลยุทธ์ และการขับเคลื่อน
1.คำว่ากลยุทธ์ ตามรูปศัพท์มีความหมายว่าอย่างไร และในปัจจุบันที่มาใช้ทางการบริหาร หมายความว่าอย่างไร
ตามรูปศัพท์ คำว่า ”กลยุทธ์” หมายถึงการรบที่มีเล่ห์เหลี่ยม วิธีการต่อสู้ที่ต้องใช้กลอุบายต่างๆ เล่ห์เหลี่ยมในการต่อสู้ กลวิธี วิธีพลิกแพลงโดยอาศัยความรู้ความชำนาญ
และในปัจจุบันที่มาใช้ทางการบริหาร มีความหมายได้หลายอย่างเช่น
1.เป็นแผนหรือสาเหตุของการกระทำที่ตั้งใน 2.เป็นกลวิธีหรืออุบาย อาจมีลักษณะเฉพาะเจาะจง 3.เป็นรูปแบบที่เป็นกระบวนการของการกระทำที่สม่ำเสมอ 4.เป็นการจัดวางหรือจับคู่ระหว่าง องค์กร 5.เป็นการมองในหลายมิติ 6.กลยุทธ์ คือ แผน การกำหนดกลยุทธ์เป็นการกำหนดทิศทางหรือเป็นแนวทางการ ดำเนินงานในอนาคต 7.กลยุทธ์ คือ การกำหนดฐานะหรือตำแหน่ง 8.กลยุทธ์ คือ ทัศนภาพ 9.กลยุทธ์ คือ กลวิธีในการเดินหมาก
โดยสรุป ปัจจุบันทางการบริหารให้ความหมาย คำว่า ”กลยุทธ์” หมายถึง การนำองค์การโดยรวม (leading the total organization)

2.การวางแผนกลยุทธ์หมายถึงอะไร เพราะหตุใดจึงต้องมีการวางแผนกลยุทธ์
การวางแผนกลยุทธ์หมายถึงวิธีการที่แยบยลโดยอาศัยข้อมูลสารสนเทศ และความรู้ความชำนาญ เพื่อกำหนดสิ่งที่จะดำเนินการในอนาคตให้ได้เปรียบคู่แข่งขัน และบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ เป็นการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจร่วมกันอย่างมีระบบของผู้ที่เกี่ยวข้อง ภายใต้บริบทที่เป็นอยู่ปัจจุบัน และสอดคล้องกับสถานนการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อกำหนดกรอบทิศทาง หรือแผนการดำเนินงานขององค์กร
สาเหตุที่ต้องมีการวางแผนกลยุทธ์ เนื่องจากทุกหน่วยงานมี “ข้อจำกัด” ในด้านต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน แต่หน่วยงานยังมีความจำเป็นต้องดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ ดังนั้นแผนกลยุทธ์จึงเป็นแนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกับศักยภาพภายในหน่วยงานและแนวโน้มของสถานการณ์ภายนอก และเป็นเอกสารข้อความที่ช่วยให้ฝ่ายต่างๆ ทำงานไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน ตลอดถึงเป็นเครื่องมือในกระบวนการเรียนรู้ของหน่วยงาน

3.จงบอกถึงขั้นตอนการวางแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา และอธิบายแต่ละขั้นตอนโดยย่อ
ขั้นตอนการวางแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา
1.วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในหน่วยงาน (จุดแข็ง , จุดอ่อน) โดยวิเคราะห์จาก
· กลยุทธ์ของหน่วยงาน
· โครงสร้างองค์กร
· ระบบการปฏิบัติงาน
· บุคลากร การเงิน วัสดุอุปกรณ์
· ทักษะ ความรู้ความสามารถ
· รูปแบบการบริหารจัดการ
· ค่านิยมร่วม
2.วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกหน่วยงาน (โอกาส , อุปสรรค)
· นโยบาย ยุทธศาสตร์ชาติ, กระทรวง, อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
· เศรษฐกิจ
· สังคมและวัฒนธรรม
· เทคโนโลยี
- วิเคราะห์กำหนดตำแหน่งขององค์กร
· รุก
· ป้องกัน
· ถดถอยหรือ
· พลิกฟื้น
3. กำหนดทิศทางในอนาคต
- วิสัยทัศน์
- พันธกิจ
- เป้าประสงค์
4. กำหนดกลยุทธ์ของหน่วยงาน
- แผนงาน
- งาน/โครงการ
- ผลผลิต
- กิจกรรม
- งบประมาณ
5. การกำหนดปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จและตัวชี้วัดความสำเร็จ

4.การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมคืออะไร และมีความสำคัญต่อการ การวางแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา
อย่างไร
กระบวนการวิเคราะห์ SWOT เป็นกระบวนการที่เป็นระบบซึ่งเอื้อให้เกิดการใช้เหตุผลในการคิดและตัดสินใจกำหนดกลยุทธ์ ในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการ ผู้เข้าร่วมต้องใช้ความคิดและอภิปรายถึงเหตุผลต่าง ๆ ในการติดสินใจ ซึ่งทำให้เกิดความรอบคอบในการกำหนดกลยุทธ์ หลายครั้งที่กลุ่มมีการโต้แย้งอภิปราย และแบ่งเป็นฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายค้าน กระทั่งต้องใช้คะแนนเสียงเป็นตัวชี้ขาดการเลือกข้อสรุปหนึ่ง ๆ กระบวนการวิเคราะห์ SWOT จึงเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เหตุผลในการตัดสินใจกำหนดกลยุทธ์ ซึ่งข้อสรุปนี้สอดคล้องกับงานของ Goodstein et al.(1993), และงานของ Amold et al.Z1994)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมมีความสำคัญต่อการวางแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา คือ เมื่อทราบผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมก็นำมาวางแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษาให้สอดคล้อง เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม กำหนดทิศทางได้ถูกต้องเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสถานศึกษา
5.จงอธิบายของเทคนิค swot เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของสถานศึกษา
หลักการของเทคนิค SWOT คือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมโดยใช้เทคนิค SWOT Analysis เป็นการพิจารณาสภาพแวดล้อมทั้งจากภายนอก(external environment) และสภาพแวดล้อมภายใน(internal environment) โดยวิเคราะห์สภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันของหน่วยงานและพิจารณาแนวโน้มต่างๆในสิ่งแวดล้อม ระดับ มหภาค เพื่อคาดการณ์เปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นใน 3-5 ปี ข้างหน้า
เทคนิคที่ใช้ในกระบวนการวิเคราะห์ SWOT
ผลจากงานวิจัยเชิงปฏิบัติการพบเทคนิคที่ใช้ในกระบวนการวิเคราะห์ SWOT 6 ประการ คือ
1) การเขียนความคิดในกระดาษสี เทคนิคการเขียนความคิดในกระดาษสีช่วยให้ผู้เข้าร่วมได้คิดกลั่นกรอง และเป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนอภิปรายความคิดและขยายความคิดของผู้เข้าร่วมให้กว้างขวางขึ้นด้วย นอกจากนี้กระดาษสียังช่วยในการจัดกลุ่มความคิด และเคลื่อนย้ายจัดกลุ่มใหม่ได้
2) การกระตุ้นให้เกิดการอภิปราย การกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมอภิปรายเป็นเทคนิคที่ช่วยให้เขากระตือรือร้นในการเข้าร่วมกระบวนการ การใช้คำถามเป็นเทคนิคที่ช่วยกระตุ้นให้เขาตอบ อาจต้องใช้คำถามนำบ้างเพื่อกระตุ้นให้คิด การเขียนข้อความหรือวาดภาพสิ่งที่เขาเสนอหรือพูดบนกระดานเป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่ช่วยทำให้การอภิปรายเกิดความต่อเนื่องขึ้นได้ หากปล่อยให้ผู้เข้าร่วมฟังเป็นเวลานาน จะเกิดความเบื่อหน่ายและง่วงได้ บางครั้งอาจต้องแทรกกิจกรรมคลายเครียดบ้างเป็นระยะ ๆ ดังนั้น การกระตุ้นให้เกิดการอภิปรายเป็นเทคนิคที่สำคัญอย่างยิ่ง
3) การให้น้ำหนักเพื่อระบุปัจจัยหลัก เทคนิคการให้น้ำหนักเป็นเทคนิคที่ช่วยระบุว่า จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค อันใดเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อองค์กรอย่างยิ่งเทคนิคนี้ดัดแปลงมาจากงานของ Flavel and Williams (1996)
การให้น้ำหนักแต่ละชุดปัจจัยใช้วิธีการให้คะแนน โดยปัจจัยที่มีค่าคะแนนสูงจะเป็นปัจจัยหลักในแต่ละชุด การให้คะแนนปัจจัยพิจารณาเกณฑ์ ดังนี้
􀂃ใช้เกณฑ์ “ปัจจัยที่มีศักยภาพส่งผลกระทบต่อกลุ่ม (potential impact)” และ “ปัจจัยที่มีความสำคัญเชิงเปรียบเทียบ (relative important)” สำหรับปัจจัยชุดจุดอ่อนและจุดแข็ง
􀂃ใช้เกณฑ์ “ปัจจัยโอกาสทีมีความเป็นไปได้ของความสำเร็จ (probability of success)” และ “ปัจจัยโอกาสที่มีศักยภาพส่งผลสำหรับปัจจัยชุดโอกาส
􀂃ใช้เกณฑ์ “ปัจจัยอุปสรรคที่มีความเป็นไปได้ของการเกิดขึ้น (probability of occurrence)” และ “ปัจจัยอุปสรรคที่มีศักยภาพรุนแรงต่อกลุ่ม (potential severity)” สำหรับปัจจัยอุปสรรค
สำหรับเกษตรกร การให้คะแนนจะเป็นแบบ 5 ระดับ คือ ต่ำมาก ต่ำ กลาง สูง สูงมาก ซึ่งจะแปลง คะแนนนี้เป็นตัวเลข โดยให้ค่าต่ำมาก = 1 , ต่ำ = 2 , กลาง = 3, สูง = 4, และสูงมาก = 5 แล้วจึงหาค่ารวมของแต่ละปัจจัย โดยจุดแข็ง และโอกาสใช้เครื่องหมายบวก (+) ส่วนจุดอ่อนและอุปสรรคใช้เครื่องหมายลบ (-)

4) เทคนิคการจับคู่ การจับคู่ (SWOT matching) เป็นเทคนิคที่ดัดแปลงมาจาก งานของ David (1996) เทคนิคการจับคู่ใช้ในการสร้างกลยุทธ์ทางเลือก โดยใช้วิธีการจับคู่ที่ละคู่ระหว่างปัจจัยจุดอ่อนและโอกาส จุดอ่อน และอุปสรรคจุดแข็งและโอกาส จุดแข็งและอุปสรรค ทั้งนี้ ในการจับคู่แต่ละครั้งอาจจะใช้ปัจจัยหลายตัวก็ได้ หรือโดยตัวมันเองอาจไม่จับคู่กับตัวใดเลยก็ได้ จากการใช้เทคนิคนี้พบว่า กลยุทธ์ที่ได้มีความละเอียดและเป็นจุดเล็ก ๆ จึงต้องจัดกลุ่มกลยุทธ์ที่คล้ายกัน แล้วสังเคราะห์เป็นกลยุทธ์ทางเลือก
5) การจัดลำดับความสำคัญ เทคนิคการจับคู่เปรียบเทียบแบบพบกันหมดช่วยในการจัดลำดับความสำคัญของกลยุทธ์ โดยเฉพาะเมื่อมีกลยุทธ์ที่ต้องการเปรียบเทียบจำนวนมาก เทคนิคการจับคู่เปรียบเทียบนี้จะช่วยให้การเปรียบเทียบกระทำได้ง่ายขึ้น การจับคู่เปรียบเทียบกระทำโดยกลยุทธ์แต่ละตัวจะถูกเปรียบเทียบกับตัวอื่น ๆ เช่น กลยุทธ์ที่หนึ่งเปรียบเทียบกับกลยุทธ์ที่สอง กลยุทธ์ที่หนึ่งเปรียบเทียบกับกลยุทธ์ที่สาม และสืบเนื่องกันไปจนกระทั่งกลยุทธ์ทุกตัวถูกเปรียบเทียบระหว่างกัน กลยุทธ์ที่ถูกเลือกมากที่สุดจะเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่สุด และกลยุทธ์ที่ถูกเลือกอันดับต่อไปก็จะสำคัญรองลงไปตามลำดับ
6) บรรยากาศผ่อนคลาย การสร้างบรรยากาศผ่อนคลาย เป็นกันเอง และมีกิจกรมคลายเครียด เป็นสิ่งจำเป็นมาก การพักดื่มน้ำเย็น ชา กาแฟ ก็ช่วยให้ผู้เข้าร่วมผ่อนคลายได้ การเล่าเรื่องตลก หรือการพูดจากสนุกสนานช่วยทำให้บรรยากาศดีขึ้น

6.จงอธิบายขั้นตอนของการวิเคราะห์สถานศึกษา พร้อมยกตัวอย่าง
ขั้นตอนกระบวนการวิเคราะห์ สถานศึกษา
1 สภาพแวดล้อมภายนอก(external environment) ซึ่งประกอบด้วย
1.1 สภาพแวดล้อมภายนอกทั่วไป (General environment) เป็นสภาพแวดล้อมในระดับกว้างมีผลกระทบโดยอ้อมต่อการดำเนินงานของสถานศึกษา จะต้องวิเคราะห์ปัจจัยหลัก 4 ด้าน หรือเรียกโดยย่อว่า “STEP” ได้แก่
1.1.1ปัจจัยด้านสังคมวัฒนธรรม (Socio-cultural factors : S) เช่น โครงสร้างของ ประชากร การเคลื่อนย้าย อาชีพ การศึกษา ค่านิยม ความเชื่อ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี เจตคติ พฤติกรรมที่มีผลกระทบทั้งในทางลบและทางบวกต่อสถานศึกษา
1.1.2 ปัจจัยด้านเทคโนโลยี (Technological factors : T) เช่น การคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เครื่องยนต์เครื่องจักร คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ ซึ่งมีผลกระทบต่อการดำเนินภารกิจของสถานศึกษาทั้งในทางลบและทางบวก
1.1.3 ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ (Economics factors: E) เช่น โครงสร้างรายได้ รายได้ประชาชาติ ภาวะเงินเฟ้อ ภาวการณ์ว่างงาน รายได้ของประชากร ที่มีผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบต่อการดำเนินงานของสถานศึกษา
1.1.4 ปัจจัยด้านการเมืองและกฎหมาย (Political and legal factors : P) เช่น กฎหมายที่เกี่ยวข้อง นโยบายของรัฐบาล นโยบายของกระทรวง นโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา ประกาศกระทรวง กฎกระทรวง มติคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อการปฏิบัติภารกิจของสถานศึกษา
1.2 สภาพแวดล้อมเชิงปฏิบัติการ (Operating environment) เป็นสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของสถานศึกษา นอกจากการพิจารณาทางด้านสังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี เศรษฐกิจ และการเมืองแล้ว ยังจะต้องพิจารณาองค์ประกอบสำคัญอื่น ได้แก่
1.2.1 สภาพปัญหาที่เกี่ยวกับภารกิจโดยตรงของสถานศึกษา
1.2.2 ลักษณะของกลุ่มสังคมผู้รับผลประโยชน์และผู้รับบริการ ได้แก่ ผู้ปกครอง นักเรียน ชุมชน
1.2.3 ภาระงานที่ต้องการเร่งด่วน
1.2.4 ความพร้อมของสถานการณ์ในการจัดการศึกษาในปัจจุบัน
1.2.5 ความร่วมมือของกลุ่มบุคคล ผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจดำเนินงานของโรงเรียน รวมทั้งเจตคติของประชาชน ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกจะพิจารณาถึงโอกาส(Opportunities) และ ภัยคุกคามหรืออุปสรรค(Threats) ยังจะต้องคำนึงถึงคู่แข่งด้วยว่าเป็นอย่างไร
2. สภาพแวดล้อมภายใน(internal environment) ประกอบด้วย
2.1 จุดแข็ง (Strengths) หมายถึง ปัจจัยหรือองค์ประกอบหลักของสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาที่เป็นข้อดีหรือข้อเด่น หรือจุดแข็งที่ส่งผลให้การดำเนินการของสถานศึกษาได้รับผลผลิตในด้านที่ดี เช่น มีระบบโครงสร้างการบริหารงานที่ดีมีคุณภาพ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์สูง (ผู้ปกครองพึงพอใจ) มีครู – อาจารย์สอนครบทุกรายวิชา ครูทุกคนมีความรู้ ความสามารถตั้งใจปฏิบัติหน้าที่เต็มศักยภาพ มีงบประมาณอย่างเพียงพอต่อการเรียนการสอน มีระบบการบริหารโครงการที่ดีมีคุณภาพ ผู้บริหารมีความสามารถในการบริหารสูง
2.2 จุดอ่อน (Weakness) หมายถึง ปัจจัยหรือองค์ประกอบหลักของสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาที่เป็นจุดอ่อนก็ส่งผลให้การดำเนินงานของโรงเรียนได้รับผลผลิต ที่ไม่คุ้มค่า หรือผลเสียหาย เช่น การปฏิบัติงานโดยไม่มีการวางแผน นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำมาก ครูมีคาบสอนมากเกินไป ใช้งบประมาณไม่คุ้มค่าที่ในแต่ละปีได้รับงบประมาณ เพียงน้อยนิด ขาดแคลน สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ การเรียนการสอนที่ทันสมัย มีระบบการบริหารจัดการที่ขาดประสิทธิภาพ
ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อการดำเนินงานของสถานศึกษา ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยหลัก 6 ด้าน ในการวิเคราะห์เรียกโดยย่อว่า “2S4M” ได้แก่
(1) โครงสร้างและนโยบายของสถานศึกษา (Structure and policy : S) ได้แก่ โครงสร้างซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดรูปแบบการบริหารงาน การแบ่งกลุ่มงาน การจัดสายการบังคับบัญชา การกำกับควบคุมตามสายงาน เครือข่ายการสื่อสารภายในสถานศึกษา และนโยบายที่รับมาจากหน่วยเหนือและ/หรือนโยบายที่สถานศึกษากำหนดเอง ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินงาน
(2) การให้บริการและคุณลักษณะของผู้เรียน (Service and Products : S) ได้แก่ ความทั่วถึงและครอบคลุมพื้นที่การให้บริการ การสร้างความสามารถในการบริการทางวิชาการแก่ผู้เรียน การจัดให้มีแหล่งเรียนรู้ การจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะด้านต่างๆของผู้เรียน การให้ความร่วมมือกับชุมชน การผลิตนักเรียนที่มีความสามารถทางวิชาการ การเสริมสร้างคุณลักษณะให้ผู้เรียนเป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข มีคุณธรรมจริยธรรม
(3) บุคลากร (Man : M1) ได้แก่ ความพอเพียงของอัตรากำลัง ความรู้ความสามารถที่สอดคล้องกับตำแหน่งหน้าที่ การกำหนดตำแหน่ง การบรรจุ แต่งตั้ง การโอนย้าย ความก้าวหน้า ในตำแหน่งหน้าที่ การให้ค่าตอบแทน การจัดสวัสดิการ ระบบบำเหน็จบำนาญ จุดสำคัญของการวิเคราะห์ในด้านนี้คือ การมีเพียงพอ และมีคุณวุฒิตรงตามภารกิจการสอน
(4) การเงิน (Money : M2) ได้แก่ ฐานะทางการเงินของสถานศึกษา งบประมาณหรือรายได้ รายรับรายจ่าย ความคล่องตัวในการเบิกจ่าย ความสามารถในการระดมทุนจากภายนอก การหารายได้ของสถานศึกษา การได้รับความร่วมมือช่วยเหลือจากแหล่งต่างๆ การใช้เงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด
(5) วัสดุอุปกรณ์ (Material : M3) ได้แก่ ความเพียงพอของสื่อ วัสดุ ครุภัณฑ์ อาคารสถานที่ ความสามารถในการใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด การจัดหา การจัดซื้อจัดจ้าง การใช้งาน การดูแลรักษา การซ่อมบำรุง การจัดจำหน่าย
(6) การบริหารจัดการ (Management : M4) ได้แก่ความสามารถในการวางแผน การปฏิบัติตามแผน การกำกับติดตามประเมินผล การบริหารจัดการเพื่อให้เกิดส่วนร่วม การสร้างทีมงาน การมีภาวะผู้นำของผู้บริหาร การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สถานศึกษา
เมื่อสถานศึกษาทราบว่า จุดแข็ง จุดอ่อน หรืออุปสรรค ปัจจัยใดส่งผลกระทบทั้งในด้านให้เกิดความสำเร็จ (+) และผลเสียหาย (-) มากหรือน้อยตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วและการทำให้เกิดค่าของผลกระทบเหล่านั้นจะทำให้รู้ว่า โดยภาพรวมแล้วสถานศึกษามีสถานภาพเป็นอย่างไร ในรูป 4 รูปแบบ คือ ดังตัวอย่าง
รูปแบบที่ 1 ถ้าสถานศึกษาใดสภาพแวดล้อมภายในมีความเข้มแข็ง (+) และมีสภาพแวดล้อมภายนอกเอื้ออำนวย (+)
การวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่าสถานศึกษานั้นมีความพร้อม มีศักยภาพภายในการจัด กิจกรรมการเรียนการสอนสูง กลยุทธ์ในการทำงานก็จะต้องมีแนววิธีในด้านการเพิ่มขยายหรือสร้างสถานศึกษาให้มีความเป็นเลิศในด้านต่าง ๆ ได้ง่าย
รูปแบบที่ 2 ถ้าสถานศึกษาใดมีสภาพแวดล้อมภายในมีความเข้มแข็ง (+) และมีสภาพแวดล้อมภายนอกเป็นอุปสรรค (-)
การวิเคราะห์ ชี้ให้เห็นว่าสถานศึกษานั้นมีปัจจัยการดำเนินงานภายในที่มีความพร้อมเข้มแข็งแต่ปัจจัยภายนอกไม่เอื้ออำนวย ไม่สามารถสนับสนุนได้ในขณะนั้น กลยุทธ์ในการปฏิบัติงานก็จะต้องมีแนววิธีในด้านการปรับปรุงพัฒนารักษาสถานภาพ และภายนอกพร้อมจะให้มีโอกาสเมื่อไรก็รีบดำเนินการต่อไปสู่รูปแบบที่ 1
รูปแบบที่ 3 ถ้าสถานศึกษาใดมีสภาพแวดล้อมภายในเป็นจุดอ่อน (-) และมีสภาพแวดล้อมภายนอกเป็นโอกาส (+)
การวิเคราะห์ ชี้ให้เห็นว่าสถานศึกษามีปัจจัยในการปฏิบัติงานที่อ่อนแอไม่พร้อม แต่ปัจจัยภายนอกที่พร้อมจะช่วยเหลือและให้การสนับสนุน กลยุทธ์ในการทำงานก็จะต้องมีแนววิธีในการแก้ไข ปรับปรุง พัฒนาภายในที่เป็นจุดด้อยต่าง ๆ ให้เข้มแข็งขึ้นเพื่อนำไปสู่รูปแบบที่ 1
รูปแบบที่ 4 ถ้าสถานศึกษาใดมีสภาพแวดล้อมภายในเป็นจุดอ่อน (-) และมีสภาพแวดล้อมภายนอกเป็นอุปสรรค (-)
O (Opportunities) โอกาส
จุดแข็ง (+) มีโอกาส (+) จุดอ่อน (-) มีโอกาส (+)
เสริมสร้าง, เพิ่ม, ขยาย พัฒนา, ปรับปรุง, แก้ไข
S (Strengths) W (Weaknesses)
จุดแข็ง จุดอ่อน
จุดแข็ง (+) มีอุปสรรค (-) จุดอ่อน มีอุปสรรค (-)
พัฒนา, ปรับปรุง รีบเร่ง, ทบทวน, ปรับปรุง
เพื่อรอโอกาสภายนอกมีความพร้อม
T (Threats) อุปสรรค
แผนภาพ 5 แสดงสถานภาพของสถานศึกษาจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์การ
สภาพแวดล้อมภายนอก คือ 1 โอกาส 2 อุปสรรค
สภาพแวดล้อมภายใน คือ 1 จุดแข็ง 2 จุดอ่อน

4. การวิเคราะห์กำหนดตำแหน่งขององค์กร
การให้น้ำหนักหรือการจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยนั้นจะแบ่งเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกจะเป็นการให้น้ำหนักแก่ปัจจัยภายใน ซึ่งวิธีการที่สะดวกและง่ายที่สุดคือ กำหนดให้บุคลากรที่จะต้องจัดลำดับความสำคัญหรือให้คะแนนในแต่ละคนมี 100 คะแนน และให้ทุกคนนำ 100 คะแนนที่มีอยู่ กระจายให้กับปัจจัยภายในประเด็นต่างๆ ทั้งที่เป็นจุดแข็งและจุดอ่อน โดยการให้คะแนนจะให้มีการให้คะแนนอย่างอิสระ และผลรวมของทุกข้อที่ให้คะแนนของแต่ละคนจะเท่ากับ 100 คะแนน
สำหรับการให้น้ำหนักหรือการจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยภายนอกทั้งที่เป็นโอกาสและอุปสรรคนั้นให้ดำเนินการตามรูปแบบเช่นเดียวกันกับการให้คะแนนหรือจัดลำดับความสำคัญแก่ปัจจัยภายใน ทั้งนี้ในการพิจารณาทั้งปัจจัยภายในและภายนอกว่าปัจจัยใดมีความสำคัญมากน้อยนั้นควร
พิจารณาว่าปัจจัยนั้นๆ มีผลกระทบต่อผลผลิตหรือกระบวนการให้บริการมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจพิจารณาในมุมมองของ Balance Scorecard ก็ได้ เช่น ผลกระทบต่อการให้บริการต่อลูกค้า ผลกระทบต่อระบบการปฏิบัติงานภายใน ผลกระทบการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ตลอดถึงผลกระทบในมิติด้านการเงินของหน่วยงาน เป็นต้น
การนำผลจากการวิเคราะห์สถานภาพหน่วยงานที่ได้ให้น้ำหนักความสำคัญในแต่ละปัจจัย ทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกมากำหนดตำแหน่งขององค์กรและกลยุทธ์ที่เชื่อมโยงสอดคล้องกัน โดยตำแหน่งต่างๆ ของหน่วยงานจะถูกกำหนดไว้ในมิติหรือควอดแดรน (Quadrant)

7.จงอธิบายความหมายของ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และบอกความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
วิสัยทัศน์ (Vision) คือ ภาพในอนาคตขององค์กรที่ผู้นำและสมาชิกทุกคนร่วมกันวาดฝันหรือจินตนาการขึ้น โดยมีพื้นฐานอยู่บนความเป็นจริงในปัจจุบัน เชื่อมโยงวัตถุประสงค์ ภารกิจ ค่านิยม และความเชื่อเข้าด้วยกัน พรรณนาให้เห็นทิศทางขององค์กรอย่างชัดเจน มีพลังท้าทาย ทะเยอทะยาน และมีความเป็นไปได้ เน้นถึงความมุ่งมั่นที่จะทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ หรือดีที่สุดให้กับลูกค้าและสังคมวิสัยทัศน์จะเกี่ยวกับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดทิศทางธุรกิจ เป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการอยู่รอดทางธุรกิจ
พันธกิจ (Mission) คือ ปฏิบัติการที่หน่วยงานจะต้องดำเนินการ เพื่อบรรลุเป้าประสงค์และวิสัยทัศน์ ในการกำหนดพันธกิจนั้น องค์กรจะต้องทราบว่าหน้าที่หรือภารกิจหลักตามกฎหมายที่องค์กรต้องดำเนินการคืออะไรและจำเป็นต้องทราบว่าเป้าประสงค์หรือผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นจากการดำเนินงานคืออะไรพันธกิจจึงเป็นสิ่งที่องค์กรต้องปฏิบัติ (ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย) เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์และวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้
เป้าประสงค์ คือ เป้าประสงค์ หรือวัตถุประสงค์หลักของหน่วยงาน เป็นขอบข่ายของผลสัมฤทธิ์หลักที่หน่วยงานต้องการให้เกิดขึ้นแก่ ประชาชน สังคม หรือประเทศชาติในอนาคตในการกำหนดเป้าประสงค์ หน่วยงานจำเป็นต้องทราบว่า กลุ่มลูกค้าหลักหรือกลุ่มผู้รับบริการของหน่วยงานนั้นคือใครและต้องการให้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร

8.ให้กำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ของสถานศึกษามา1แห่ง
วิสัยทัศน์ โรงเรียนวัดโคกกรวด “ไตรราษฎร์บำรุง” ต.โคกม่วง อ.ภาชี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
โรงเรียนวัดโคกกรวด “ไตรราษฎร์บำรุง” นักเรียนโรงเรียนวัดโคกกรวด “ไตรราษฎร์บำรุง” ต้องมีความสามารถทางด้านวิชาการ รักการเขียนอ่าน สืบสานวัฒนธรรมไทย และท้องถิ่น ใช้เทคโนโลยีเป็น เน้นวินัย และความรับผิดชอบ
พันธกิจ
1. จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดทักษะกระบวนการ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้แหล่งเรียนรู้
2. ปลูกฝัง ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักความเป็นไทย อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
3. ปลูกฝังและส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นได้
4. ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีวินัย และความรับผิดชอบ
เป้าประสงค์
1. ประชากรวัยเรียนทุกคนในเขตบริการ ได้รับการบริการทางการศึกษาอย่างเสมอภาคและทั่วถึง
2. ประชากรวัยเรียนทุกคน ได้รับการบริการทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพมาตรฐานสากล เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข มีความรักและภาคภูมิใจในความเป็นอยุธยา
3. ครูทุกคนสามารถจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
4. โรงเรียนมีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
5. ชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการศึกษา เข้ามามีส่วนร่วมส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาในทุกระดับ มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ

9.จงเปรียบเทียบวิสัยทัศน์ และพันธกิจ ที่ท่านกำหนดขึ้น กับของสถานศึกษาที่มีอยู่แล้ว่างมีความแตกต่าง เหมาะสมและสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้มากน้อยเพียงใด

วิสัยทัศน์
ความแตกต่าง
โรงเรียนวัดโคกสังข์
โรงเรียนวัดโคกกรวด
โรงเรียนวัดโคกสังข์ “ ประชานุกูล “ จัดการศึกษาให้นักเรียน มีคุณธรรม จริยธรรม สติปัญญา เรียนรู้อย่างมีความสุข รักชุมชน รักความเป็นอยุธยา โดยนำเทคโนโลยี ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และผสานความร่วมมือกับชุมชน ในการจัดการศึกษา

นักเรียนโรงเรียนวัดโคกกรวด “ไตรราษฎร์บำรุง” ต้องมีความสามารถทางด้านวิชาการ รักการเขียนอ่าน สืบสานวัฒนธรรมไทย และท้องถิ่น ใช้เทคโนโลยีเป็น เน้นวินัย และความรับผิดชอบ

แตกต่างกันโรงเรียนวัดโคกกรวดเน้นด้านการอ่าน เขียน โรงเรียนวัดโคกสังข์ เน้นให้นักเรียนมีความสุข และนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม
พันธกิจ
ความแตกต่าง
โรงเรียนวัดโคกสังข์
โรงเรียนวัดโคกกรวด
1.จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน โดยใช้เทคโนโลยี และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม
1. จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดทักษะกระบวนการ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้แหล่งเรียนรู้

แตกต่างกันโรงเรียนวัดโคกกรวดเน้นกระบวนการคิด โรงเรียนวัดโคกสังข์ กล่าวในภาพรวมไม่บ่งชี้
2.จัดการศึกษาให้นักเรียนได้รับการพัฒนาตามเกณฑ์มาตรฐานการเรียนรู้อย่างเต็มตามศักยภาพ

2. ปลูกฝัง ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักความเป็นไทย อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย

ไม่แตกต่างกัน และไป สัมพันธ์กับข้อที่2
3.ส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ และคุณธรรม

3. ปลูกฝังและส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นได้
ไม่แตกต่างกัน และไปสัมพันธ์กับข้อที่ 1
4.จัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4. ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีวินัย และความรับผิดชอบ

โรงเรียนวัดโคกสังข์ไม่ระบุตัวคุณธรรม แต่ โรงเรียนวัดโคกกรวดระบุความมีวินัย และความรับผิดชอบ
5.สร้างสัมพันธภาพ และมิตรภาพที่ดีต่อชุมชน

-
แตกต่างโรงเรียนวัดโคกกรวดไม่ได้กำหนด














ตอบคำถามท้ายบท
บทที่7
การพัฒนาแผนกลยุทธ์ และการขับเคลื่อน



โดย
นายทรงชัย เลิศวัฒนาพร
นักศึกษาปริญญาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา
เลขประจำตัว 75079075






เสนอ
ผศ.ดร.ไพโรจน์ อุลิต

เกณฑ์มาตรฐาน และตัวชี้วัดคุณภาพการศึกษา

คำถามท้ายบทที่ 6
เกณฑ์มาตรฐาน และตัวชี้วัดคุณภาพการศึกษา
1. มาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานแบ่งออกเป็นกี่ด้าน และมีกี่มาตรฐานและตัวบ่งชี้ ใช้มาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกในรอบแรกกี่มาตรฐาน
มาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานแบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ 1.มาตรฐานด้านผู้เรียน 2.มาตรฐานด้านกระบวนการ 3.มาตรฐานด้านปัจจัย มี 18 มาตรฐาน 84 ตัวบ่งชี้ การประเมินคุณภาพภายนอกในรอบแรกใช้ 14 มาตรฐาน 53 ตัวบ่งชี้
2. การประกันคุณภาพการศึกษามีกี่ระบบ อะไรบ้าง
การประกันคุณภาพการศึกษามี 2 ระบบ คือ
1. การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน (Internal Quality Assurance) หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันการศึกษาจากภายใน โดยวงจร PDCA(Plan – Do – Check – Act) เป็นการปฏิบัติโดยบุคลากรของสถาบันการศึกษาหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถาบันการศึกษา ประกอบด้วย
1.1 การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) จะประกันว่ามีการปฏิบัติหน้าที่เป็นไปตาม
หน้าที่ความรับผิดชอบ โดยการควบคุมปัจจัยหรือตัวแปรต่างๆ ที่ส่งผลต่อคุณภาพ การควบคุมดังกล่าวเน้นที่
ระบบการกำกับดูแลตนเอง (Self – Regulating System) ในระดับบุคคล กองวิชา กรมนักเรียน/กองการปกครอง และสถาบัน
1.2 การตรวจสอบคุณภาพ (Quality Audit) หมายถึง การตรวจสอบผลการดำเนินการของ
ระบบและกลไกควบคุมคุณภาพการศึกษาภายใน ที่สถาบันการศึกษาได้จัดให้มีขึ้น โดยจะเป็นการตรวจสอบ
เชิงระบบ มุ่งเน้นการพิจารณาว่า สถาบันได้มีระบบควบคุมคุณภาพหรือไม่ ได้ใช้ระบบที่พัฒนา ขึ้นเพียงใด
และมีขั้นตอนการดำเนินการที่จะทำให้เชื่อถือได้หรือไม่ว่าการจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีคุณภาพ
1.3 การประเมินคุณภาพ (Quality Assessment) หมายถึง การประเมินค่าระดับคุณภาพของกิจกรรมเฉพาะอย่างในหน่วยงาน เช่น คุณภาพการจัดการศึกษา คุณภาพของงานวิจัย คุณภาพของการสอน
เป็นต้น โดยมีจุดเน้นที่โปรแกรมวิชา การประเมินจะใช้วิธีการศึกษาตนเอง (Self Study) การประเมินทางวิชาการจากภายนอก (External Peer Review) และการใช้ตัวบ่งชี้วัดพฤติกรรม (Performance Indicators)
๒. การประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก (External Quality Assurance) หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันการศึกษาจากภายนอกโดย สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือบุคคล หรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรอง เพื่อเป็นการประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบัน
การศึกษา ประกอบด้วย
2.1การตรวจสอบคุณภาพที่ผ่านกระบวนการประกันคุณภาพภายใน
2.2 การประเมินคุณภาพ
2.3 การให้การรับรอง
3. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับอะไรบ้าง
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาดังนี้
๑. วัตถุประสงค์ทั่วไป
๑.๑ เพื่อให้ทราบระดับคุณภาพของสถาบันการศึกษาในการดำเนินภารกิจด้านต่างๆ
๑.๒ กระตุ้นเตือนให้สถาบันการศึกษาพัฒนาคุณภาพการศึกษาและประสิทธิภาพการบริหารจัดการอย่าง ต่อเนื่อง
๑.๓ เพื่อให้ทราบความก้าวหน้าของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบันการศึกษา
๑.๔ เพื่อรายงานสภาพและพัฒนาการในด้านคุณภาพและมาตรฐานของสถาบันการศึกษา ต่อสาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๒. วัตถุประสงค์เฉพาะ
๒.๑ เพื่อตรวจสอบยืนยันสภาพจริงในการดำเนินงานของสถาบันการศึกษา และประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ตามกรอบแนวทางและวิธีการที่กำหนด และสอดคล้องกับระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด
๒.๒ เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งช่วยสะท้อนให้เห็น จุดเด่น – จุดที่ควรพัฒนาของสถาบัน การศึกษา เงื่อนไขของความสำเร็จ และสาเหตุของปัญหา
๒.๓ เพื่อช่วยเสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่สถาบันการศึกษาและ หน่วยงานต้นสังกัด
๒.๔ เพื่อส่งเสริมให้สถาบันการศึกษามีการพัฒนาคุณภาพและประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง
๒.๕ เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันการศึกษา
ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน

4. สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจะต้องเตรียมการอย่างไรเพื่อรองรับการประเมินภายนอกจากสำนักงานรับรอง
มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)
การเตรียมรับการประเมิน ภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)
1. ศึกษาเกณฑ์การประเมินจากเอกสารต่างๆเท่าที่หาได้หรือจาก web สมศ. http://www.onesqa.or.th และเตรียมตัวตามเกณฑ์ ตัวบ่งชี้ (ไม่ต้องทำแฟ้มเป็นรายมาตรฐาน) ทั้ง 14 มตฐ.ของสมศ. หรือ 18 มตฐ.ของ สพฐ.
2. จัดระบบงาน คำว่า ระบบ หมายถึง ต้องมีการวางแผน ประชุม มอบหมายงาน ดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย รายงานผลการดำเนินงาน กำกับติดตามและประเมินผลรวมถึงการสรุปผลการดำเนินงาน ต้องมีระบบทั้งงาน ด้านผู้เรียน ครู และผู้บริหาร
3. ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเป็นปกติ งาน/โครงการในโรงเรียนต้องสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการ และแผนต้นทุนผลผลิต จัดทำกิจกรรม เก็บข้อมูลให้เป็นปัจจุบันสม่ำเสมอ เมื่อมีงานตามโครงการก็อนุมานได้ว่า มีความตระหนัก ความพยายามที่จะทำให้งานประสบผลสำเร็จ แต่งาน/โครงการหรือกิจกรรมต้องมีชีวิต คือต้องมีการดำเนินการตลอดปี ในแต่ละครั้งที่ทำงานต้องขออนุมัติจากผู้บริหาร ดำเนินการและรายงานผลให้ผู้บริหารทราบ ผู้บริหารตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะ ปลายปีมีการประเมินโครงการ สรุปผลการดำเนินงาน/โครงการต่างๆ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงหรือพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
4. จัดทำรายงาน SAR จัดทำรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประจำปี ดูรูปแบบได้จากเอกสาร แนวทางการเขียนรายงาน (เล่มสีเขียว) ของสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. ที่ออกเมื่อ มีนาคม 2549
ที่สำคัญที่สุด คือคุณภาพของผู้เรียน ซึ่งจะส่งผลถึงครูและผู้บริหาร คณะครูทั้งโรงเรียนคงต้องช่วยกันทำให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรให้จงได้ ซึ่งเรื่องนี้ต้องใช้ความพยายามและเวลาเป็นอย่างมาก ซึ่งต้องทำทั้งโรงเรียน ไม่ใช่คนใดคนหนึ่งชั้นใดชั้นหนึ่งทำ เพราะเขาดูภาพรวมของโรงเรียน

5. มาตรฐานการศึกษาของชาติมีมาตรฐานและตัวบ่งชี้อะไรบ้าง
มาตรฐานการศึกษาของชาติ มี3 มาตรฐานและ 11 ตัวบ่งชี้ ได้แก่
มาตรฐานที่ 1 คุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ ทั้งในฐานะพลเมืองและพลโลก (5 ตัวบ่งชี้)มาตรฐานที่ 2 แนวการจัดการศึกษา (3 ตัวบ่งชี้)มาตรฐานที่ 3 แนวการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้/สังคมแห่งความรู้ ( 3 ตัวบ่งชี้)
มาตรฐานการศึกษาของชาติมีมาตรฐานและตัวบ่งชี้
มาตรฐานที่ 1 คุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ ทั้งในฐานะพลเมืองและพลโลกการศึกษาต้องพัฒนาคนไทยทุกคนให้เป็น “คนเก่ง คนดี และมีความสุข” ตามตัวบ่งชี้ดังต่อไปนี้
ตัวบ่งชี้
1. กำลังกาย กำลังใจที่สมบูรณ์
1.1 คนไทยมีสุขภาพกายและจิตที่ดี มีพัฒนาการด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ตามเกณฑ์การพัฒนาในแต่ละช่วงวัย
2. ความรู้และทักษะที่จำเป็นและเพียงพอในการดำรงชีวิตและการพัฒนาสังคม
2.1 คนไทยได้เรียนรู้ เต็มตามศักยภาพของตนเอง
2.2 คนไทยมีงานทำ และนำความรู้ไปใช้ในการสร้างงานและสร้างประโยชน์ให้สังคม
3. มีทักษะการเรียนรู้และการปรับตัว
3.1 คนไทยสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้ รู้ทันโลกรวมทั้งมีความสามารถในการใช้แหล่งความรู้และสื่อต่าง ๆ เพื่อพัฒนาตนเองและสังคม3.2 คนไทยสามารถปรับตัวได้ มีมนุษย์สัมพันธ์ดี และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
4. มีทักษะทางสังคม
4.1 คนไทยเข้าใจและเคารพในธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและสังคม มีทักษะและความสามารถ ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข
4.2 คนไทยมีความรับผิดชอบ เข้าใจ ยอมรับและตระหนักในคุณค่า ของวัฒนธรรมที่แตกต่างกันสามารถแก้ปัญหาในฐานะสมาชิกของสังคมไทยและสังคมโลกโดยสันติวิธี
5. มีคุณธรรม จิตสาธารณะ และจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก
5.1 คนไทยดำเนินชีวิตโดยกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต
5.2 คนไทยมีความรับผิดชอบทางศีลธรรมและสังคม มีจิตสำนึก ในเกียรติภูมิของความเป็นคนไทย มีความภูมิใจในชนชาติไทย รักแผ่นดินไทย และปฏิบัติตนตามระบอบประชาธิปไตย เป็นสมาชิกที่ดี เป็นอาสาสมัคร เพื่อชุมชนและสังคมในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก
มาตรฐานที่ 2 แนวการจัดการศึกษา จัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญและการบริหาร โดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน
ตัวบ่งชี้
1. การจัดหลักสูตรการเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
1.1 มีการจัดหลักสูตรที่หลากหลายตามความเหมาะสม ความต้องการและศักยภาพของกลุ่มผู้เรียนทุกระบบ
1.2 ผู้เรียนมีโอกาส/สามารถเข้าถึงหลักสูตรต่างๆ ที่จัดไว้อย่างทั่วถึง
1.3 องค์กรที่ให้บริการทางการศึกษามีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีอาคารสถานที่ มีการส่งเสริมสุขภาพอนามัย และความปลอดภัย
1.4 มีการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ สื่อเพื่อการเรียนรู้ และการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศทุกรูปแบบที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
2. มีการพัฒนาผู้บริหาร ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ
2.1 ผู้บริหาร ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการและวิชาชีพ
2.2 ผู้บริหาร ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษามีคุณธรรม มีความพึงพอใจในการทำงาน และผูกพันกับงาน มีอัตราการออกจากงานและอัตราความผิดทางวินัยลดลง
2.3 มีแนวโน้มในการรวมตัวจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อสร้างเกณฑ์มาตรฐานเฉพาะกลุ่ม และติดตามการดำเนินงานของบุคลากรและสถานศึกษา ตลอดจนการสั่งสมองค์ความรู้ที่หลากหลาย
3. มีการบริหารจัดการที่ใช้สถานศึกษาเป็นฐาน
3.1 องค์กร ชุมชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามสภาพท้องถิ่น บุคลากรทั้งในและนอกสถานศึกษา สภาพปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน
3.2 ผู้รับบริการ/ผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่มมีความพึงพอใจต่อการจัดบริการทางการศึกษาของสถานศึกษา
3.3 มีการกำหนดระบบประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพ และสามารถรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกได้

มาตรฐานที่ 3 แนวการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้/สังคมแห่งความรู้ “การสร้างวิถีการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ให้เข้มแข็ง”
ตัวบ่งชี้
1. การบริการวิชาการและสร้างความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับชุมชนให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้/สังคมแห่งความรู้
1.1 สถานศึกษาควรร่วมมือกับบุคลากรและองค์กรในชุมชนที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทุกระดับ ร่วมจัดปัจจัยและกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน และให้บริการทางวิชาการที่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาคนในชุมชน เพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญา และคนไทยมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต
1.2 ชุมชนซึ่งเป็นที่ตั้งขององค์กรที่ให้บริการทางการศึกษามีสถานภาพเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้/สังคมแห่งความรู้ มีความปลอดภัย ลดความขัดแย้ง มีสันติสุข และมีการพัฒนาก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
2. การศึกษาวิจัย สร้างเสริม สนับสนุนแหล่งการเรียนรู้ และกลไกการเรียนรู้
2.1 มีการศึกษาวิจัย สำรวจ จัดหา และจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ
2.2 ระดมทรัพยากร (บุคลากร งบประมาณ อาคารสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก ภูมิปัญญาและอื่นๆ) และความร่วมมือจากภายในและภายนอกสถานศึกษา ในการสร้างกลไกการเรียนรู้ทุกประเภท เพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ และสามารถเรียนรู้ตลอดชีวิตได้จริง
2.3 ส่งเสริมการศึกษาวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อการพัฒนาประเทศ
3. การสร้างและการจัดการความรู้ในทุกระดับทุกมิติของสังคม
3.1 ครอบครัว ชุมชน องค์กรทุกระดับ และองค์กรที่จัดการศึกษามีการสร้างและใช้ความรู้ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จนกลายเป็นวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้

6. ความสำเร็จของการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง
ความสำเร็จของการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญขึ้นอยู่กับ ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการจัดการศึกษา อาจสรุปได้ดังนี้
ปฏิรูปการศึกษาให้เหมาะสมกับสภาพความเปลี่ยนแปลงและ บริบทของสังคมไทยโดยเน้นการปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอน การปฏิรูปหลักสูตร การปฏิรูปวิชาชีพครู และบุคลากรทางการศึกษา และการปฏิรูประบบบริหารและ การจัดการ

7. การพัฒนาผู้บริหาร ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างเป็นระบบ และมีคุณภาพควรดำเนินการอย่างไรบ้าง 1. กำหนดนโยบายและแนวทางการพัฒนาของสถาบัน เพื่อให้ นำไปปฏิบัติให้เป็นแนวทางเดียวกันเพื่อให้มีการพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง 2. จำทำคู่มือ การพัฒนาของสถาบัน และคู่มือหรือแนวทางในการปฏิบัติงาน 3. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาของสถาบัน เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในรูปแบบต่างๆ ทั้งด้านการจัดประชุม สัมมนา ศึกษาเอกสาร ดูงาน ฯลฯ 4. ติดตามตรวจสอบให้มีการจัดทำรายงานการศึกษาพัฒนาตนเอง 6. กำหนดองค์ประกอบที่พึงได้รับ ด้วยการควบคุม ตรวจสอบ และประกันคุณภาพ
8.กระทรวงศึกษาธิการมีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในไว้กี่ด้าน อะไรบ้าง
กระทรวงศึกษาธิการมีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในไว้4ด้าน คือ
1.มาตรฐานด้านคุณภาพเด็ก
2.มาตรฐานด้านด้านการจัดการเรียนรู้
3.มาตรฐานด้านบริหาร และการจัดการศึกษา
4.มาตรฐานด้าน การพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้

9.กระทรวงศึกษาธิการมีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยไว้กี่ด้าน แต่ละด้านมีกี่มาตรฐาน
กระทรวงศึกษาธิการมีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยไว้ 4 ด้าน คือ
1.มาตรฐานด้านคุณภาพเด็ก มี 8 มาตรฐาน
2.มาตรฐานด้านการเรียนรู้ มี 2 มาตรฐาน
3.มาตรฐานด้านการบริหารและการจัดการศึกษา มี 6 มาตรฐาน
4.มาตรฐานด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ มี 2 มาตรฐาน

10.มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย ต้องการให้เด็กมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์มีตัวชี้วัดอะไรบ้าง
ตัวชี้วัด มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย ต้องการให้เด็กมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ คือ
มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์
1.1 มีวินัยมีความรับผิดชอบ และปฏิบัติตนตามหลักธรรมเบื้องต้นของศาสนาที่ตนนับถือ
1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต
1.3 มีความกตัญญูกตเวที
1.4 มีเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละเพื่อส่วนรวม
1.5 ประหยัด รู้จักใช้ทรัพย์สิ่งของส่วนตัวและส่วนรวมอย่างคุ้มค่า
1.6 ภูมิใจในความเป็นไทย เห็นคุณค่าภูมิปัญญาไทย นิยมไทยและดำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย

11.มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย มีความแตกต่างกัน ในมาตรฐานใดบ้าง
ตารางเปรียบเทียบ ความแตกต่างมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย
มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย
ความแตกต่าง
แตกต่าง
ไม่แตกต่าง
มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์
มาตรฐานที่ 1 เด็กมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์

P
มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานที่ 2 เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม

P
มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สมามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
มาตรฐานที่ 3 เด็กสามารถทำงานจนสำเร็จ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีความรู้สึกที่ดีต่อต่ออาชีพสุจริต

P
มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณมีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์
มาตรฐานที่ 4 เด็กสามารถคิดรวบยอด คิดแก้ปัญหา และคิดริเริ่มสร้างสรรค์

P

มาตรฐานที่ 5 ผู้เรียนมีความรู้ทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร
มาตรฐานที่ 5 เด็กมีความรู้และทักษะเบื้องต้น
P

มาตรฐานที่ 6 ผู้เรียนมีทักษะแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
มาตรฐานที่ 6 เด็กมีความสนใจใฝ่รู้ รักการอ่าน และพัฒนาตนเอง

P
มาตรฐานที่ 7 ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
มาตรฐานที่ 7 เด็กมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี

P
มาตรฐานที่ 8 ผู้เรียนมีสุนทรียภาพ และลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา
มาตรฐานที่ 8 เด็กมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว

P





มาตรฐานด้านการเรียนการสอน
มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย
ความแตกต่าง
แตกต่าง
ไม่แตกต่าง
มาตรฐานที่ 9 ครูมีคุณธรรม จริยธรรม มีวุฒิ /ความรู้ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบ
หมั่นพัฒนาตนเอง เข้ากับชุมชนได้ และมีครูเพียงพอ
มาตรฐานที่ 9 ครูมีคุณธรรม จริยธรรม มีวุฒิ/ความรู้ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบ หมั่นพัฒนาตนเอง เข้ากับชุมชนได้ดี และมีครูพอเพียง

P
มาตรฐานที่ 10 ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และเน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ
มาตรฐานที่ 10 ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และเน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญ

P
มาตรฐานด้านการบริหารและจัดการศึกษา
มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย
ความแตกต่าง
แตกต่าง
ไม่แตกต่าง
มาตรฐานที่ 11 ผู้บริหารมีคุณธรรม จริยธรรม มีภาวะผู้นำ และมีความสามารถในการบริหาร
จัดการ
มาตรฐานที่ 11 ผู้บริหารมีคุณธรรมจริยธรรม มีภาวะผู้นำ และมีความสามารถในการบริหาร จัดการศึกษา

P
มาตรฐานที่ 12 สถานศึกษามีการจัดองค์กร โครงสร้างและการบริหารงานอย่างเป็นระบบ ครบวงจร
มาตรฐานที่ 12 สถานศึกษามีการจัดองค์กร โครงสร้าง ระบบการบริหารงานและพัฒนาองค์กรอย่างเป็นระบบครบวงจร

P
มาตรฐานที่ 13 สถานศึกษามีการบริหารและจัดการศึกษาโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน
มาตรฐานที่ 13 สถานศึกษามีการบริหาร และจัดการศึกษาโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน

P
มาตรฐานที่ 14 สถานศึกษามีการจัดหลักสูตร และกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มาตรฐานที่ 14 สถานศึกษามีการจัดการหลักสูตร และประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นเด็ก เป็นสำคัญ

P
มาตรฐานที่ 15 สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย
มาตรฐานที่ 15 สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพเด็กอย่างหลากหลาย

P
มาตรฐานที่ 16 สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนตามธรรมชาติเต็มศักยภาพ
มาตรฐานที่ 16 สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อม และการบริการที่ส่งเสริมให้เด็กพัฒนา ตามธรรมชาติเต็มศักยภาพ

P

มาตรฐานด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้
มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย
ความแตกต่าง
แตกต่าง
ไม่แตกต่าง
มาตรฐานที่ 17 สถานศึกษามีการสนับสนุนและใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
มาตรฐานที่ 17 สถานศึกษามีการสนับสนุน และใช้แหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาในท้องถิ่น

P
มาตรฐานที่ 18 สถานศึกษามีการร่วมมือระหว่างบ้าน องค์กรทางศาสนา สถาบันทางวิชาการและองค์กรภาครัฐและเอกชน เพื่อพัฒนาวิถีการเรียนรู้ในชุมชน
มาตรฐานที่ 18 สถานศึกษามีการร่วมมือกันระหว่างบ้าน องค์กรทางศาสนา สถาบันทางวิชาการและองค์กร ภาครัฐและเอกชน เพื่อพัฒนาวิถีการเรียนรู้ในชุมชน

P

สรุป ความแตกต่างมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย นั้น แตต่างกันน้อยมากตามรายมาตรฐาน แต่บางมาตรฐานจะแตกต่างกันอย่างชัดเจนในตัวบ่งชี้

12.จากสาระของหน่วยการเรียนรู้นี้ ขอให้ศึกษามาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ ที่สถานศึกษาของตนที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาพิจารณาว่า สถานศึกษาในขณะนี้ มีปัญหาในมาตรฐานอะไร และให้นำมาอภิปราย หาสาเหตุและแนวทางแก้ไข
จากสาระของหน่วยการเรียนรู้นี้ มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ ที่สถานศึกษา พิจารณาแล้วว่า ใน
มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์
สาเหตุที่มาจากกระบวนการเรียนการสอน และกระบวนการบริหารการศึกษา ไม่ได้เน้นตามนโยบายการจัดการศึกษา ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ และควบคุมโดยกระบวนการนิเทศ
โรงเรียนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามตัวบ่งชี้ของมาตรฐานที่ 4 โดยดำเนินกิจกรรมต่อไปนี้
1. โครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โดยในปีการศึกษา 2550 ได้ให้จัดทำแผนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อย่างน้อยคนละ 1 กลุ่มสาระวิชา โดยเน้นกลุ่มสาระวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาไทย ส่งเสริมให้นักเรียนมีความสามารถในด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน การสร้างเครื่องมือการวัดผลประเมินผล และตรวจภาระงานการสอนด้วยกระบวนการนิเทศ
2.โครงการหนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม โดยจัดทำนวัตกรรม และงานวิจัยในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ของนักเรียน
3. โครงการสร้างสรรค์การศึกษา โดยติดต่อประสานงานกับชุมชน และอบต.โคกม่วงให้สนับสนุนสื่อการเรียนการสอน โดยเน้นสื่อทางด้านคอมพิวเตอร์ การจัดระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อการสืบค้นความรู้ การติดตั้งชุดจานรับสัญญาณดาวเทียม เพื่อรับรายการการโทรทัศน์ทางไกล และการติดต่อจากหน่วยงานอื่นๆเพื่อพัฒนาห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ ทั้งภายในและนอกโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์

.................................................................................

















































ตอบคำถามท้ายบท
บทที่ 6 เกณฑ์มาตรฐาน และตัวชี้วัดคุณภาพการศึกษา




โดย
นายทรงชัย เลิศวัฒนาพร
นักศึกษาปริญญาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา
เลขประจำตัว 75079075






เสนอ
ผศ.ดร.ไพโรจน์ อุลิต

การพัฒนาและการใช้นโยบาย

คำถามท้ายบทที่5
การพัฒนาและการใช้นโยบาย
1. ตามความหมายของ นโยบายที่ คูบา ระบุไว้ทั้ง8ความหมายท่านเห็นว่าความหมายใดสำคัญที่สุดเพราะเหตุใด
ตามความหมายของ นโยบายที่ คูบา ระบุไว้ทั้ง8ความหมายข้าพเจ้า เห็นว่า กลยุทธ์(tacticy) ที่นำมาใช้แก้ปัญหาสำคัญที่สุด เพราะ กลยุทธ์(tacticy) ที่นำมาใช้ มาจากการวิเคราะห์ปัจจัยภายใน และภายนอก ของสถานศึกษา ที่เป็นจริง
2. นโยบายมีหลายความหมายก็จริงแต่โดยสรุปคือกรอบความคิดเกี่ยวกับอะไร จงอธิบาย
นโยบายมีหลายความหมายก็จริงแต่โดยสรุปคือ กรอบความคิดเกี่ยวกับทิศทาง และแนวดำเนินการที่องค์กรต่างๆ ต้องใช้เป็นแนวทางสู่การปฏิบัติ
3. ในกระบวนความสำคัญ ของนโยบายทั้งหมดท่านเห็นว่าข้อใดสำคัญที่สุดเพราะเหตุใดจงอธิบาย
ในกระบวนความสำคัญ ของนโยบายทั้งหมดข้าพเจ้าเห็นว่าข้อที่สำคัญที่สุดคือ ความสำคัญต่อการทำงานระยะยาว ยั่งยืน เนื่องจากนโยบายที่ดี ย่อมผ่านการใช้ข้อมูลที่กว้าง ลึก และมองไกลไปในอนาคต ทำให้การกระทำที่ตามมาไม่วกวน แต่เต็มไปด้วยความก้าวหน้า และมั่นคงในระยะยาว แม้ว่าจะมีการเปลี่ยน ผู้บริหารแต่ต้องดำเนินตามนโยบายที่วางไว้ ทำให้การทำงานมีความต่อเนื่อง
4. นโยบายประเภทใดสำคัญที่สุดเพราะอะไรจงอธิบาย
นโยบายประเภทนโยบายพื้นฐานสำคัญที่สุด เพราะ เป็นนโยบายระดับสูงที่มาจากกฎหมาย ซึ่งมีผลกระทบต่อเราโดยตรง และทุกคนต้องปฏิบัติตาม เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฯลฯ และที่ไม่ใช่เป็นกฎหมาย แต่ต้องปฏิบัติเพื่อเป็นเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ เช่นแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ และนโยบายต่างๆของรัฐบาล เป็นต้น
5. นโยบายที่อยู่ในสถานะใดที่ส่งผลต่อการปฏิบัติมากที่สุดเพราะเหตุใดจงอธิบาย
นโยบายที่อยู่ในสถานะที่เป็นปรัชญา ส่งผลต่อการปฏิบัติมากที่สุดเพราะ ความเชื่อหรือปรัชญามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์มากที่สุด เช่นสิ่งมหัศจรรย์ของโลก การก่อการร้ายที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ล้วนเกิดจากการกระทำที่มาจาก นโยบายที่อยู่ในสถานะที่เป็นปรัชญาทั้งสิ้น
6. นโยบายตามมาตราใดของรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทยจงยกตัวอย่างมาหนึ่งมาตรา และแสดงแนวทางในการสนองนโยบายมาพอเข้าใจ
ตามมาตราที่ 49 ของรัฐธรรมนูญปีพ.ศ. 2550 ให้สิทธิประชาชนได้รับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก จะต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐให้ได้รับการศึกษาอย่างทัดเทียมกับผู้อื่น แต่ รัฐธรรมนูญปีพ.ศ. 2540บัญญัติเรื่องสิทธิในการได้รับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีอย่างทั่วถึงเช่นกัน แต่ไม่ได้คุ้มครองไปถึงผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ
แนวทางการสนองนโยบายคือ เร่งรัดจัดการศึกษาให้ ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ได้รับโอกาสทางการศึกษาเท่าเทียมกับบุคคลอื่น



7. ท่านมีแนวทางดำเนินงานตามมาตรา 43 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540อย่างไร จงอธิบาย เป็นข้อๆ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ในมาตรา 43 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
การจัดการศึกษาอบรมของรัฐต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน ทั้งนี้ ตามที่ กฎหมายบัญญัติ การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ ตามตามที่ กฎหมายบัญญัติ
ข้าพเจ้ามีแนวทางดำเนินงานตามมาตรา 43 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ดอังนี้
1.ขอเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัว ระดับอนุบาลเป็น 1,700 บาทต่อปี ประถมศึกษา 1,900 บาท มัธยมต้น 3,500 บาท และมัธยมปลาย 3,800 บาท
2.ของบประมาณสำหรับบรรจุครู เนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติคืนอัตราเกษียณปี 2550 ทั้งหมด 4 พันอัตราให้ สพฐ.
3.สพฐ.ขอเพิ่มเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานให้เด็กยากจน จากเดิมที่รัฐเคยสนับสนุนปัจจัยพื้นฐานให้ ร้อยละ 30 ของนักเรียนประถมศึกษาทั้งหมด เป็นร้อยละ 40 ส่วนระดับมัธยมเคยให้ ร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 30 รวมทั้งเพิ่มวงเงินปัจจัยพื้นฐานด้วย จากระดับประถม460 ต่อปี เป็น 1,000 บาท ระดับมัธยม 2,500 บาทเป็น 3,000 บาท และปรับเพิ่มได้ตามสภาพเป็นจริงตามเศรษฐกิจ
4.จัดซื้อตำราเรียน 5 วิชาหลัก แจกนักเรียน ป.1 ถึง ม.3 ทุกคน
5. จัดงบประมาณสำหรับปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน และของบค่าสาธารณูโภค เพิ่มเติมให้ ร.ร. และงบประมาณ มาจ่ายคืนให้ ร.ร.ทั่วประเทศที่ต้องใช้เงินตัวเองจ้างครูเพิ่มเติมด้วย
6. จัดทำสำมะโนนักเรียนประชากรวัยเรียนก่อนประถมศึกษา เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ได้เข้าเรียน
7. โรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำรวจข้อมูล และจัดทำสำมะโนนักเรียนวัยเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับเพื่อเร่งรัดให้เข้าเรียนทุกคน
8. จัดสรรโอกาสให้นักเรียนทุกคนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เข้าเรียนต่อชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ทุกคน
9. สำรวจข้อมูลที่นักเรียนออกกลางคัน ตกหล่น ให้ความช่วยเหลือ และพาเด็กเข้าเรียนตามสภาพปัญหาและความต้องการ
10. สนับสนุนให้สถานศึกษาจัดแนะแนวการศึกษาต่อมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ สายอาชีพ
11. ส่งเสริมการฝึกอาชีพให้กับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง และเด็กด้อยโอกาส ระดมทุนการศึกษา
12. โรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ร่วมแก้ไขปัญหานักเรียนเป็นรายกรณี
13. ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เช่น ส่งเสริมให้ อปท. จัดการศึกษาปฐมวัยอย่างมีคุณภาพ และมีบทบาทในการสนับสนุนโรงเรียนขนาดเล็ก และการพัฒนาโรงเรียนในรูปแบบสหกิจ
8. สาระหลักของนโยบายคืออะไร จงอธิบาย
สาระหลักของนโยบายคือ หน้าที่ขององค์กร หรือส่วนงาน ที่มีความเกี่ยวข้องกับจุดหมาย ทั้งในเชิงปริมาณคุณภาพ และแนวดำเนินการรวมทั้งรายละเอียดอื่นๆ
9. จงเขียนนโยบายมา1นโยบายพร้อมอธิบายว่าทำไมจึงกำหนดเช่นนั้น
เร่งรัดคุณภาพการศึกษาด้าน การคิดวิเคราะห์ ด้วยการใช้ทฤษฎีการคิดแบบ หมวก 6 ใบ ภายในปีการศึกษา 2551
สาเหตุที่ต้องกำหนดนโยบายนี้เพราะว่า สถานศึกษา ยังจัดการเรียนการสอนยังไม่บรรลุตามมาตรฐานของการศึกษาชาติ หลักสูตรสถานศึกษา และระบบการประกันคุณภาพ จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาโรงเรียนในด้านต่างๆ เช่น การประเมินภายใน และภายนอก ความเชื่อมั่นในการส่งบุตรหลานเข้ามาเรียน
10. มีปัจจัยเพื่อการกำหนดนโยบายอะไรบ้าง ถ้าขาดปัจจัยแต่ละด้าน จะทำให้เกิดผลเสียอะไรจงอธิบาย
ปัจจัยเพื่อการกำหนดนโยบายมี 2 ประเภทคือ
1.ปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐาน ได้แก่ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ และคุณภาพของนโยบาย ถ้าขาดปัจจัยส่วนนี้จะทำให้นโยบายล้มเหลว และส่งผลกระทบต่อองค์กร
2.ปัจจัยที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หรือบริบท ได้แก่
- การเมือง ได้แก่การได้มาซึ่งอำนาจ และการใช้อำนาจ ในการสนับสนุนโยบาย เช่นสนับสนุนด้าน ทรัพยากร งบประมาณ บุคลากร ฯลฯ ถ้าขาดปัจจัยส่วนนี้จะทำให้นโยบายล้มเหลว หรือขาดประสิทธิภาพ
- เศรษฐกิจ ได้แก่ ฐานะทางด้านงบประมาณของ รัฐบาล หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถ้ารัฐบาลมีงบเกินดุลย์ ก็สามารถสนับสนุนนโยบายได้ ถ้าขาดปัจจัยส่วนนี้จะทำให้นโยบายล้มเหลว หรือขาดประสิทธิภาพ เนื่องจากทรัพยากร เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การบริหารงาน นั้นประสบผลสำเร็จ
- สังคมวัฒนธรรม ได้แก่เรื่องของวิถีชีวิตของคนในสังคมนั้นๆ การกำหนดนโยบายต้องไม่ขัดกับวิถีชีวิตของคนในสังคมนั้นๆ ถ้าขาดปัจจัยส่วนนี้จะทำให้นโยบายล้มเหลว หรือขาดประสิทธิภาพ เนื่องจาก คนจะเป็นผู้สนับสนุน หรือต่อต้านก็ได้
-วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นสิ่งที่ช่วยสร้างผลผลิต อำนวยความสะดวกให้มนุษย์ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ถ้าขาดปัจจัยส่วนนี้จะทำให้นโยบาย ขาดประสิทธิภาพ
11.มีขั้นตอนในการกำหนด และการนำนโยบายไปใช้อะไรบ้าง อธิบาย
ขั้นตอนในการกำหนด และการนำนโยบายไปใช้มีดังนี้
1.ขั้นตอนการวิจัยนโยบาย เป็นการทำงานเชิงระบบ คือมีการนำข้อมูล ที่ได้มาทำการวิเคราะห์ วิจัย เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย
2.ขั้นตอนการพัฒนานโยบาย เป็นการยกร่างนโยบาย เน้นการมีส่วนร่วม ในรูปแบบของการประชุมปฏิบัติการจัดทำร่าง และนำร่างนโยบายนำเสนอต่อผู้มีอำนาจ
3.ขั้นตอนการใช้นโยบาย เป็นการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ในรูปของ แผนต่างๆ เช่น แผนพัฒนาการศึกษาระดับต่างๆ แผนปฏิบัติการ แผนงบประมาณ การจัดองค์กร และการดำเนินงาน
4.ขั้นการประเมินผล เป็นการประเมินผลก่อนดำเนินการ กำลังดำเนินการ และหลัง ดำเนินการ เพื่อให้แผน อยู่ในความควบคุมให้สมดุล อยู่ตลอดเวลา

12.จงอ่านงานวิจัยการศึกษามา 1 เรื่อง และทดลองกำหนดนโยบาย โดยใช้ข้อมูลนั้นพร้อมอธิบายว่าทำไมจึงกำหนดเช่นนั้น
งานวิจัยเรื่อง บทบาทของประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรีผู้วิจัย นายสุชิน โภชฌงค์สาขา การบริหารการศึกษาปี พ.ศ. 2547ประธานกรรมการที่ปรึกษา ผศ.สุภาเพ็ญ จริยะเศรษฐ์กรรมการที่ปรึกษา อาจารย์พงษ์ศักดิ์ รวมชมรัตน์กรรมการที่ปรึกษา ดร.พงษ์ศักดิ์ รักษาเพชร
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เปรียบเทียบบทบาทหน้าที่ของประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และศึกษาปัญหาและแนวทาง
แก้ไขปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศึกษาสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี จำนวน 227 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) กำหนดคำตอบเป็นข้อความ 5 ระดับซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows version 10.0 สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมาก 11 ด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรกดังนี้ ด้านเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน ด้านส่งเสริมให้เด็กทุกคนในเขตบริการได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงมีคุณภาพได้มาตรฐาน และ ด้านส่งเสริมให้มีการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา ส่วนด้านที่มีการปฏิบัติน้อยกว่าด้านอื่นๆคือด้านแต่งตั้งที่ปรึกษาหรือคณะอนุกรรมการ
ส่วนการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ในระดับปานกลางมี 2 ด้าน เรียงตามลำดับคือ ด้านส่งเสริมให้มีการพิทักษ์สิทธิเด็ก ดูแลเด็กพิการ เด็กด้อยโอกาส และเด็กที่มีความสามารถพิเศษ และด้านกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาการศึกษา การเปรียบเทียบบทบาทหน้าที่ของประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการบริหารงาน จำแนกตามขนาดสถานศึกษาเล็ก กลาง และใหญ่ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่ด้านส่งเสริมให้มีการระดม
ทรัพยากรเพื่อการศึกษา และด้านเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานศึกษาขนาดใหญ่ มีบทบาทมากกว่าประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานศึกษาขนาดเล็ก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัญหาที่พบมากและแนวทางการแก้ปัญหา ในการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่โดยตรงของประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่สำคัญมี 3 ประการคือ ปัญหาการขาดความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ มีแนวทางแก้ปัญหาคือจัดให้มีการประชุมอบรมสัมมนาให้ความรู้และความเข้าใจ ปัญหารองลงมาคือไม่มีเวลาศึกษาข้อมูลได้ทั้งหมดเพราะข้อมูลมากเกินไป มีแนวทางแก้ไขโดยจัดทำเอกสารสรุปข้อมูลสาระสำคัญ วางแผนและกำหนดปฏิทินการปฏิบัติงานให้ชัดเจน และปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะประธานการประชุมคือ คณะกรรมการไม่ กล้าแสดงความคิดเห็น แนวทางแก้ไขคือจัดกิจกรรมให้คณะกรรมการสถานศึกษาร่วมแสดงความคิดเห็นและกล้าแสดงออก
จากงานวิจัยดังกล่าวสามารถกำหนดนโยบายดังนี้ เร่งรัดพัฒนาบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษา ด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการ
เนื่องจากคณะกรรมการสถานศึกษา ขาดความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตน
13.จงอภิปรายประเด็นต่อไปนี้
- การกำหนดนโยบายรายวัน
หมายถึง การเปลี่ยนแปลง คำสั่ง หรืองานอย่างรวดเร็ว มีส่วนดีคือสามารถที่จะตอบสนองความต้องการขององค์กรได้อย่างทันที แต่มีส่วนเสียคือ การที่นโยบาย เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็น นโยบายรายวัน จะมีปัญหาด้าน การปรับตัง และการต่อต้าน ดังนั้นการกำหนดนโยบาสบรายวันจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆที่อาจมีผลกระทบต่อองค์กรด้วย
- ความสับสนของนโยบาย
คือกระบวนการกำหนดนโยบายที่ไม่ชัดเจน ขาดข้อมูลทำให้การดำเนินการขาดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
- การขัดข้องของนโยบาย
คือการดำเนินการของนโยบายเป็นไปอย่างไม่ราบรื่น ติดขัด อาจเป็นในเรื่องของปัจจัยในด้าน ตัวบุคล การเมือง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
- การขัดนโยบาย
คือการที่ การดำเนินงาน ไม่สนองตอบกับจุดมุ่งหมาย ของนโยบาย หรือขัดกับกฏหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณี การเมือง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ฯลฯ นั้น

************************************






ตอบคำถามท้ายบท
บทที่5การพัฒนาและการใช้นโยบาย



โดย
นายทรงชัย เลิศวัฒนาพร
นักศึกษาปริญญาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา
เลขประจำตัว 75079075






เสนอ
ผศ.ดร.ไพโรจน์ อุลิต

แนวคิดเพื่อการเปลี่ยนแปลงองค์กร

บทที่4 แนวคิดเพื่อการเปลี่ยนแปลงองค์กร
1.อธิบายสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงมีสาเหตุอยู่หลายประการสามารถสรุปได้ดังนี้
1.ปัจจัยภายนอก ได้แก่ สภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน กฎระเบียบ ข้อบังคับ ระบบการขนส่ง เทคโนโลยี การแข่งขันทางธุรกิจ ฯลฯ
2.ปัจจัยภายใน ได้แก่ นโยบายขององค์การระบบการบริหาร ผู้บริหารงานบุคคล กฎระเบียบ ข้อบังคับขององค์การ สถานที่ทำงาน บุคลากร การตอบแทน สวัสดิการ บรรยากาศการทำงาน สิ่งอำนวยความสะดวก ความมั่นคง ผลประกอบการ

2.ขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลง มีอะไรบ้าง อธิบายโดยสรุป
การเปลี่ยนแปลงเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างมีลำดับขั้นตอน เคิร์ท เลวิน (Kurt Lewin) นักจิตวิทยาชื่อดัง ได้แบ่งขั้นตอนของกระบวนการให้การเปลี่ยนแปลงออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะยอมรับถึงความจำเป็น (Unfreezing) ระยะดำเนินการเปลี่ยนแปลง (Changing) และระยะรักษาสภาพใหม่ให้อยู่กับองค์การได้ถาวร (Refreezing) 1. ระยะยอมรับถึงความจำเป็น (Unfreezing) เป็นขั้นตอนที่เงื่อนไขสภาพแวดล้อมและสถานภาพเดิมที่องค์การเป็นอยู่ขณะนั้นเกิดปัญหาทำให้การดำเนินกิจการไม่เป็นที่น่าพอใจ ซึ่งอาจเกิดจากการมีโครงสร้าง การจัดรูปแบบงาน หรือเทคโนโลยีที่ขาดประสิทธิผลหรือการที่พนักงานขาดทักษะและเจตคติที่เหมาะสม การเกิดวิกฤตการณ์เป็นตัวเร่งให้ฝ่ายต่าง ๆ ยอมรับและเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง เช่นการชุมนุมประท้วงอย่างรุนแรงของพนักงาน หรือยอดตัวเลขการขายสินค้าตกลงอย่างฮวบฮาบหรือการเกิดกรณีฟ้องร้องทางกฎหมายกับบริษัท เป็นต้น อย่างไรก็ดี การยอมรับถึงความจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงนั้น ไม่จำเป็นต้องมีวิกฤตการณ์เกิดขึ้นก็ได้ แต่อาจจะมาจากการได้ข้อมูลจากแหล่งอื่น เช่น การสำรวจทัศนะของลูกค้า พนักงานหรือดูจากบัญชีการเงินของบริษัท เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้สามารถใช้ในการคาดเหตุการณ์ล่วงหน้าเพื่อดำเนินการเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะเกิดภาวะวิกฤตได้ 2. ระยะดำเนินการเปลี่ยนแปลง (Changing) เป็นขั้นตอนของการนำแผนงานวิธีการและเทคนิคต่าง ๆ ลงสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สภาพที่ต้องการ อย่างไรก็ดีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างสามารถทำได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องมีแผนงานก็ได้ เช่น การจัดฝึกอบรมทักษะการทำงาน การปรับขั้นตอนการสรรหาพนักงาน เป็นต้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับคนไม่กี่คน แต่ถ้าเป็นการเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่ต้องเกี่ยวกับคนจำนวนมาก เช่น การปฏิรูปปรับรื้อองค์การใหม่ การปรับนโยบายจากรวมศูนย์ไปเป็นการกระจายอำนาจความรับผิดชอบในการตัดสินใจลงสู่ระดับล่าง เป็นต้น จำเป็นต้องมีแผนและดำเนินการอย่างรอบคอบ 3. ระยะรักษาสภาพใหม่ให้อยู่กับองค์การได้ถาวร (Refreezing) กล่าวคือ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแล้ว พร้อมทั้งได้มีการพัฒนาด้านพฤติกรรมและเจตคติของพนักงานหรือปรับโครงสร้างใหม่แล้ว ในขั้นตอนจากนี้ก็คือ การทำให้การเปลี่ยนแปลงใหม่ในด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นคงอยู่และกลายเป็นส่วนหนึ่งขององค์การต่อไป ซึ่งมีสิ่งที่ต้องพิจารณาก็คือ การเปลี่ยนแปลงใหม่ที่เกิดขึ้นมีประสิทธิผลหรือไม่ และขั้นตอนต่อเนื่องที่จะต้องเปลี่ยนแปลงต่อไปเป็นอย่างไร แนวคิดในการบริหารปัจจุบันจึงให้ความสำคัญต่อการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning organization) เพื่อกระตุ้นทุกคนในองค์การให้มีนิสัยการเรียนรู้ตลอดเวลาและพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงเสมอ ประเด็นและปัญหาสำคัญในกระบวนการของการเปลี่ยนแปลง (Issues in changing process)ในกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงทั้ง 3 ระยะดังกล่าว เป็นสิ่งที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้โดยง่าย แต่มีประเด็นสำคัญที่จะต้องเตรียมการและมีปัญหาที่ต้องเผชิญในกระบวนการของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งได้แก่ การตรวจวินิจฉัย (Diagnosis) การต่อต้าน (Resistance) การประเมินผล (Evaluation) และการเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ (Institutionalization) โดยประเด็นเหล่านี้จะเกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนในกระบวนการของการเปลี่ยนแปลง
3.การเปลี่ยนแปลงที่มีแผนไว้ล่วงหน้ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
การเปลี่ยนแปลงที่มีแผนไว้ล่วงหน้ามีขั้นตอนดังนี้คือ
1. ความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลง 2. การสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลง
3.วิเคราะห์ปัญหาต่างๆการเปลี่ยนแปลง 4.แสวงหาวิธีการเปลี่ยนแปลง ที่เหมาะสม 5.เลือกเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลง 6.ลงมือปฏิบัติในการเปลี่ยนแปลง 7.ประเมินผลการเปลี่ยนแปลง 8.ประสิทธิผลการปรับปรุงเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงเท่าที่จำเป็น 9.ปริมาณ และคุณภาพของงาน

4.ให้วิเคราะห์สถานศึกษาของท่านว่ามีปัญหาสำคัญอะไรบ้างและควรเปลี่ยนแปลงด้านใดบ้าง
สถานศึกษาของข้าพเจ้ามีปัญหาที่สำคัญคือ และควรเปลี่ยนแปลงด้าน

สภาพปัญหา
การเปลี่ยนแปลง
1.การปฏิบัติไม่ตอบสนองต่อนโยบายด้านกฎหมาย
1.ควรเปลี่ยนแปลงทางด้านการจัดทำแผนให้สอดคล้องกับนโยบาย โดยชุมชนมีส่วนร่วม
2. สภาพการทำงาน ในองค์กรไม่มีความคล่องตัว
2. ควรเปลี่ยนแปลงทางด้านการจัดองค์การ และกฎระเบียบ ในการปฏิบัติงาน
3.บุคลากรลดลง
3.พัฒนาบุคลากรให้ ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย และพัฒนาด้านความสัมพันธ์กับชุมชน
4.โรงเรียนมีนักเรียนลดลง
4.พัฒนาคุณภาพนักเรียน และประชาสัมพันธ์



5.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงมีอะไรบ้าง
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงเป็นกระบวนการทางจิตวิทยา เกิดจากบุคลิกและภูมิหลัง ทางด้านประสบการของคน มีดังนี้
1.ความรู้สึกก่อนการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ความรู้สึกไม่ปลอดภัย และความรู้สึกไม่มั่นคงในชีวิตและการเปลี่ยนแปลง
2.ความเชื่อในวัฒนธรรมและระเบียบแบบแผน
3.ปัจจัยอื่นๆที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติของบุคคลต่อการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ความไว้เนื้อเชื่อใจ ฐานะของบุคลในองค์กร ทั้งในฐานะผู้ปฏิบัติงาน และฐานะสัมพันธภาพระหว่างกลุ่

6.พฤติกรรมต่อต้านการเปลี่ยนแปลงเนื่องมาจากสาเหตุใดบ้าง
1.สาเหตุส่วนบุคคล เป็นกระบวนการทางด้านจิตวิทยา และนิสัยส่วนตัว อันได้แก่การเกิดความเข้าใจผิดในการเปลี่ยนแปลง เกิดความกลัวในความมั่นคงปลอดภัย การขาดอำนาจ การขาดความร่วมมือ ผลประโยชน์ ค่านิยม การขัดกันของบุคคล
2.สาเหตุขององค์กร เป็นกระบวนการทางด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมได้แก่ ผลประโยชน์ที่ได้รับ การขัดกันระหว่างองค์กร บรรยากาศ การเลือวิธีการเปลี่ยนแปลงไม่เหมาะสม การ้ปลี่ยนแปลงในอดีตไม่ประสบผลสำเร็จ โครงสร้างขององค์กรไม่เอื้ออำนวยในการเปลี่ยนแปลง

7.บอกวิธีป้องกันและแก้ไขการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
วิธีป้องกันและแก้ไขการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงจำแนกได้ดังนี้
1.สนับสนุนการร่วมมือร่วมใจจากทุกฝ่ายให้เกิดขึ้นก่อน
2.เริ่มต้นเปลี่ยนแปลงที่จุดยอดหรือผู้บริหารระดับสูงก่อน
3.ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นการลดภาระกิจของคนส่วนมากลงมามิใช่การเพิ่มภาระให้หนักกว่าเดิมแต่อย่างใด
4.ผสมผสานข้อเสนอของการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับธรรมเนียมประเพณีและค่านิยมของทุกฝ่ายในองค์กร
5.แสดงให้เห็นว่าหลังจากการการเปลี่ยนแปลงแล้ว ทุกคนมีอิสระเสรีมากมายกว่าเดิม หรืออย่างน้อยเท่าเดิม
6.เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมวิเคราะห์ปัญหาที่ควรจะการเปลี่ยนแปลงด้วยตนเอง
7.พยายามใช้หลักการตัดสินใจ โดยหลักความยิยยอมตั้งแต่เริมต้นการเปลี่ยนแปลง
87.สร้างระบบตรวจสอบข่าวสารย้อนกลับให้ดี ขจัดความกลัว ความยุ่งยากที่จะเกิดขึ้นอันเป็นจะผลการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ
9.เปิดโอกาสให้มีการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจร่วมกัน

8.เมื่อมีการปฏิรูปการศึกษาโรงเรียนของท่านได้มีการเปลียนแปลงเรื่องใดบ้าง
เมื่อมีการปฏิรูปการศึกษาโรงเรียนของข้าพเจ้าได้มีการเปลียนแปลงดังนี้
1. การเปลี่ยนประบบการศึกษา ระบบการศึกษาปัจจุบันมี 3 ระดับ คือ 1.1 เปลี่ยนจากระบบการศึกษาภาคบังคับจาก 6 ปี เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็น 12 ปี และ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เน้นความรู้พื้นฐาน ทั่วไปเพื่อการดำรงชีวิตของคนไทย ให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข การจัดการศึกษา จะต้องให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม , เศรษฐกิจ , เทคโนโลยี และการเมืองของโลก ซึ่งมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี สารสนเทศที่รวดเร็วมาก ทำให้การติดต่อสื่อสารไร้ข้อจำกัดใดๆ ทำให้โลก แคบลง จึงควรจัดการศึกษาทั้ง 3 ระบบ ให้มีหลากหลายวิธี คือ ควรมีทั้งระบบโรงเรียนปิด - เปิด ให้โอกาสเรียนรู้แบบตามอัฌชาสัย (Education on Demand) E - Learning - E - Education, Bouderless Education โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารเป็นเครื่องมือ ในการจัดการศึกษา
2. การเปลี่ยนการเรียนรู้ การเรียนรู้ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 2.1 เปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ คือ สาระของหลักสูตรต้องทันสมัย ใช้ประโยชน์ได้จริงๆ 2.2 เปลี่ยนนวัตกรรม คือ ครู อาจารย์ สอนถ่ายทอดเป็น ผลิตสื่อเป็น ประเมินวัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็น (ถูกต้อง ยุติธรรม ครบถ้วน เนื้อหาสาระหลัก ๆ) และพัฒนาสร้างองค์ความรู้เองได้ 2.3 เปลี่ยนวิธีสอน สอนอย่างไร ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ (สอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ มิใช่ ครูเป็นพระเอก หรือไม่) ให้โอกาสผู้เรียนพัฒนาการตนเองตามศักยภาพ
3. การเปลี่ยนระบบการบริหารการศึกษา
3.1 ให้มีการตรวจสอบและประเมินคุณภาพทั้งภายในและภายนอก คือ ต้องจัดทั้งระบบประกันคุณภาพทั้งภายในและภายนอกทุกระดับหน่วยงาน 3.2 ผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นำสูง กล้าหาญ ที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ให้ก้าวทันยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดคุณภาพและประสิทธิภาพสูงสุด อย่างต่อเนื่อง 3.3 การบริหาร ที่ยึดการตัดสินใจ ร่วมกัน (โดยคณะกรรมการ) ทำงานเป็น Team Working ยึดความโปร่งใส พร้อมให้มีการตรวจสอบในความถูกต้องและทางจริยธรรม
4. เปลี่ยนหน้าที่ และบทบาท ครู – บุคลากรทางการศึกษา ได้แก่
4.1 ต้องรับ "ครูพันธุใหม่" เรียน 6 ปี (เรียนทฤษฎี 5 ปี ฝึกสอน 1 ปี ) โดยปรับหลักสูตรให้เรียน เนื้อหาสาระที่จำเป็น เป็นความรู้ที่จะนำไปใช้ได้จริง ๆ เน้นสาระเชิงเทคนิคการปฏิบัติให้มากๆ และตัดทฤษฎีลงหรือให้ไปศึกษาเพิ่มเติมเอง ไม่ต้องมาเสียเวลาในห้องเรียนควรให้เรียนแบบสัมมนาให้มากๆ 4.2 การอบรมพัฒนาครู ครูต้องมีการอบรมวิชาการและเทคนิคการสอนในทุกๆ ปี หรือ 5 ปี ผู้ที่ไม่ผ่านการอบรมพัฒนาตนเอง ทุกปี ไม่ผ่านกรประเมินคุณภาพ จึงไม่ได้รับ ค่าตอบแทนพิเศษ ขึ้นเงินเดือนหรือไม่ควรให้ความชอบ ครูที่ไม่พัฒนาตนเอง คุณค่าความเป็นผู้ทรงความรู้จะมีค่าลดลงเรื่อย ๆ หากขาดการอบรมหาความรู้เพิ่ม
4.3 การจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการ ซึ่งครูเป็นวิชาชีพชั้นสูงมีค่าตอบแทน ได้มีการแยกบัญชี เงินเดือนครู โดยเฉพาะ จัดให้มีอัตราเงินเดือนสูง และจัดสวัสดิการ ให้เหมาะสมเช่นเดียวกับ วิชาชีพแพทย์ ผู้พิพากษา
5. การเปลี่ยนด้านทรัพยากรและการลงทุนทางการศึกษา ปัจจุบัน รัฐบาลใช้งบประมาณ ลงทุนทางการศึกษา โดยอาศัย
5.1 ดึงภาคเอกชนเข้ามาช่วยร่วมลงทุนและประสานให้เป็นแหล่งฝึกงาน / ทักษะ และเป็นห้องปฏิบัติการ 5.2 ใช้แหล่งความรู้จากท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น - ปราชญ์ชาวบ้าน 5.3 อาศัยเครือข่าย Internet มาช่วยบริการจัดการแหล่งวิทยาการ 5.4 ลดจำนวนบุคลากรที่ด้อยคุณภาพ โดยการประเมินคุณภาพ หากไม่ผ่านเกณฑ์ จะมีการคัดออก เพื่อลดค่าใช้จ่าย

9.ให้ท่านบอกถึงความจำเป็นของรูปแบบการบริหารการศึกษาตามแนวการปฏิรูปในแต่ละหัวข้อโดยชี้ให้เห็นว่ามีประโยชน์ต่อสถานศึกษาอย่างไร
1.การกระจายอำนาจ
มีความจำเป็นต่อสถานศึกษาคือ
1. เพื่อให้การดำเนินงานของรัฐ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดขั้นตอนการดำเนินการ อันเนื่องจากการล่าช้าในการตัดสินใจจากส่วนกลาง
2.เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนได้อย่างแท้จริง
3.เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
มีประโยชน์ต่อสถานศึกษาคือ
1.เพื่อเพิ่มคุณภาพบริการ
2.เพื่อประสิทธิภาพของระบบบริการสาธารณสุข
3.พื่อตอบสนองความต้องการและการตรวจสอบจากชุมชน
4.เพื่อความเสมอภาค
5.เพื่อความยั่งยืนและการยอมรับ

2.การบริหารแบบมีส่วนร่วม
ความสำคัญของการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม เป็นเหตุผลที่จำเป็นต่อการบริหารหรือการจัดการองค์กร คือ 1) ก่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันในการปฏิบัติงานที่มุ่งหวัง 2) กระบวนการตัดสินใจสามารถรองรับพฤติกรรมของบุคคลในองค์กรได้กว้างขวางและเกิดการยอมรับได้ 3) เป็นหลักการของการบริหารที่เป็นผลต่อการดำเนินการเชิงวิเคราะห์ด้วยเหตุผลวิวัฒนาการเพื่อความคิด (การเปิดกว้าง) การระดมความคิด (ระดมสมอง) ซึ่งนำไปสู่ การตัดสินใจได้ 4) ลดช่องว่างของระบบการสื่อสารในองค์กรและขจัดปัญหาความขัดแย้งได้

3.การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน หมายถึง การบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาตามความต้องการจำเป็นของโรงเรียนและท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง สมาชิกในชุมชน นักเรียน และองค์กรอื่น ๆ มารวมพลังกันในการตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรและดำเนินการพัฒนากิจกรรม/งานของสถานศึกษาในระยะสั้น และระยะยาวอย่างมีประสิทธิภาพ

4.โรงเรียนนิติบุคล
มีความจำเป็นและประโยชน์ต่อสถานศึกษาคือ
1. เพื่อให้สถานศึกษาจัดการศึกษาอย่างเป็นอิสระ คล่องตัว ให้สามารถบริหารจัดการศึกษาได้สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพตามหลักการกระจายอำนาจและการบริหารที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน 2. เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

5.การทำงานเป็นทีม
การทำงานเป็นทีมจะมีประโยชน์ต่อสถานศึกษาในด้านต่างๆ คือ
1. สร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานให้กับสมาชิก
เพราะการทำงานเป็นทีมจะสร้างความไว้ใจ ช่วยเหลือกัน และบรรยากาศการทำงานที่ดี ทำให้สมาชิกมีความรู้สึกสบายใจ พอใจ และเพลิดเพลินกับการทำงาน ก่อให้เกิดขวัญและกำลังใจในการทำงาน และช่วยให้เกิดผลงานที่มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ
2. สร้างความมั่นคงในอาชีพ
ช่วยให้สมาชิกของทีมงานมีความมั่นคงและก้าวหน้าในอาชีพ นอกจานนี้องค์การต่างๆ มักจะปรับระบบการประเมิน และให้ผลตอบแทนที่จูงใจแก่ทีม ทำให้สมาชิกในทีมงานที่ประสบความสำเร็จ มีความก้าวหน้าทั้งด้านการงาน รายได้ และอาชีพที่มั่นคง
3. สร้างความสัมพันธ์ในงาน
สมาชิกในทีมงานจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยระดมกำลังกาย กำลังใจ และกำลังความคิด ตลอดจนความรู้ ทักษะ ความสามารถ และประสบการณ์ของสมาชิกเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดความสัมพันธ์และความผูกพันในฐานะสมาชิกของทีม หรือที่เรียกว่า “One for all, all for one.” ทำให้บุคคล ทีม และงานมีความผูกพันใกล้ชิดกัน และบรรลุเป้าหมายที่ต้องการร่วมกัน


4. เพิ่มพูนการยอมรับนับถือระหว่างกัน
เนื่องจากสมาชิกทีมงานจะต้องกำหนดและจัดสรรตำแหน่ง อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของสมาชิก เช่น หัวหน้าทีม นักวิเคราะห์ ผู้ประสานงานของทีม และสมาชิกอื่นๆ โดยสมาชิกที่ร่วมทีมจะรับรู้ ยอมรับ และมีความเข้าใจต่อกันว่าเขาจะต้องแสดงบทบาท (Roles) อย่างไร และในช่วงเวลาใดให้เหมาะสม

10.ให้ท่านอภิปรายปัญหาและแนวการปรับปรุงแก้ไขประเด็นที่สนใจจาก 5 ข้อที่กล่าวมา โดยเลือกเพียง 1 เรื่องที่เป็นปัญหาในโรงเรียนของท่าน
ปัญหาและแนวการปรับปรุงแก้ไขประเด็นการทำงานเป็นทีม ในโรงเรียนของข้าพเจ้านั้นเกิดจาก
1.ขาดการตกลงกันตั้งแต่เริ่มต้น ขาดการพูดกัน ไม่แจ้งเป้าหมายของงาน
2. มีการปกปิดข้อมูลผิดพลาดที่ผ่านมา สมาชิกหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญปัญหาและร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา
3.ไม่ได้ใช้วิธีการประชุมหารือ เป็นเครื่องกระตุ้นเพื่อให้สมาชิกเกิด ความรู้สึกผูกผัน
4. ขาดการวางแผนงานและเวลา
5. ไม่มีการแบ่งความรับผิดชอบ เพื่อให้สมาชิกได้รู้บทบาทที่ชัดเจน
6. ขาดการประเมินผลการทำงานของทีม ตารางตรวจติดตามประเมินผล
แนวทางการแก้ไขในการทำงานเป็นทีม
1. สร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดี
2. มอบหมายงานต้องชัดเจนแน่นอน
3. ยอมรับในเรื่องความแตกต่างของสมาชิก
4. ให้ใช้ประสบการณ์ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
5. ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย
6. กำหนดจำนวนผู้ทำงานให้เหมาะสม
7. ให้ทุกคนมีวินัยในการทำงาน และทำตามกฎระเบียบ
8. จะต้องกำหนดกิจกรรมนั้นๆ จะมีวิธีปฏิบัติอย่างไร
9. จะต้องทำที่ไหน อย่างไร เพื่ออะไร เวลาใด โดยใคร
10. จะต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง
11. จะประสานกับกิจกรรมอื่น ๆ อย่างไร
ขั้นตอนในการทำงานเป็นทีม
ขั้นที่หนึ่ง เป็นหนึ่งเดียวกัน (ONENESS)
ขั้นที่สอง ประชุมสม่ำเสมอ
ขั้นที่สาม สื่อสารทั่วถึง และหาแนวร่วม
ขั้นที่สี่ นำเสนอเป็นระยะ
ขั้นที่ห้า พบปัญหา ทบทวนใหม่ (เป้าหมาย วัตถุประสงค์ ผลสัมฤทธิ์ที่คาดหมาย)
ขั้นที่หก ประเมินตรวจสอบเป็นระยะ
ขั้นที่เจ็ด ตรวจสอบความรู้สึก ความคิด สร้างบรรยากาศร่วมกันในการทำงาน

************************************************************

























ตอบคำถามท้ายบท
บทที่4 แนวคิดเพื่อการเปลี่ยนแปลงองค์กร




โดย
นายทรงชัย เลิศวัฒนาพร
นักศึกษาปริญญาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา
เลขประจำตัว 75079075





เสนอ
ผศ.ดร.ไพโรจน์ อุลิต

โครงสร้างการจัดการศึกษาของไทย

คำถามท้ายบทที่3
โครงสร้างการจัดการศึกษาของไทย

1. การจัดโครงสร้างสถานศึกษาของท่าน สามารถตอบสนองวัตถุประสงค์สำคัญของการจัดโครงสร้างองค์การในข้อใดบ้าง
1.1. มีการแบ่งงานกันทำโดยแยกออกเป็นแต่ละงาน
1.2. เพื่อมอบหมายงาน และความรับผิดชอบของแต่ละคน ตามความรู้และความถนัดของแต่ละคน
1.3. เพื่อประสานงานต่างๆให้ดำเนินอย่างสอดคล้องกัน
1.4. จัดงานออกเป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่ม (4 กลุ่มงาน) ตั้งขึ้นเป็นหน่วยงาน หรือแผนกงาน
1.5. มีการความสัมพันกันระหว่างบุคล กลุ่มคน หน่วยงาน หรือแผนกงาน
1.6. มีการกำหนดการบังคับบัญชาอย่างเป็นทางการตลอดทั้งองค์กร
1.7. เพื่อจัดการสรรการใช้ทรัพยากร อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

2. การจัดโครงสร้างองค์การตามแนวคิดการบริหารแบบดั้งเดิม กับการบริหารในยุคปัจจุบันมีความแตกต่างกันอย่างไร
แนวคิดการบริหารแบบดั้งเดิม
1.1.บริหารแบบดั้งเดิมอำนาจการบังคับบัญชาลดหลั่นกันมาอย่างชัดเจน
1.2.มีความเป็นเอกภาพของการบังคับบัญชา
1.3.อำนาจการบังคับบัญชา ต้องเท่าเทียมกับความรับผิดชอบ
1.4.ผู้บริหารสามารถมอบหมายงานให้กับระดับรองลงไปได้ แต่ความรับผิดชอบยังคงอยู่
แนวคิดการบริหารแบบใหม่
2.1.สายบังคับบัญชาสั้นลง การทำงานรวดเร็วขึ้น
2.2.ขนาดการควบคุมกว้างขึ้น
2.3.ความเป็นเอกภาพในการบังคับบัญชาน้อยลง
2.4.การมอบหมายงาน และการให้คนมีอำนาจมากขึ้น มีการกระจายงานมากขึ้น

3.การจัดโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการกับโครงสร้างของเขตพื้นที่การศึกษาแตกต่างกันอย่างไร
โครงสร้างของ ศธ. เมื่อครั้งมีการปฏิรูปการศึกษาว่า เป็นไปในลักษณะที่ต้องการให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางจากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา จึงคิดว่า วิธีที่มีองค์คณะบุคคล และให้มีลักษณะในเชิงที่มี Representative อาจทำให้การมีส่วนร่วมกว้างขวางขึ้น และทำให้การศึกษาตอบสนองต่อความต้องการต่างๆ ได้ดีขึ้น
ดังนั้น จึงได้ออกแบบให้มีคณะกรรมการตั้งแต่ระดับสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา จนถึงหน่วยบริหาร คือ องค์กรหลักที่มีสถานศึกษา หน่วยงานที่มีคณะกรรมการในระดับนี้ ได้แก่ สพฐ. สอศ. และ สกอ. นอกจากนี้ยังได้จัดรูปแบบ โครงสร้างขององค์คณะบุคคลที่ใช้กับ สกศ.ซึ่งเป็นสภากลางที่กำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษาทุกระดับทุกประเภท
ส่วนโครงสร้างของเขตพื้นที่การศึกษา ได้ยึดพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ โดยจัดการศึกษาต่ำกว่าปริญญา โดยถือว่ายังเป็นส่วนราชการที่สังกัดราชการบริหารส่วนกลาง คือกระทรวงหรือ กรม กำหนด กรอบการบริหารจัดการ โดยยึดเขตพื้นที่การศึกษา โดยคำนึงถึง ปริมาณสถานศึกษา จำนวนประชากร สภาพภูมิศาสตร์ การคมนาคม วัฒนธรรม และ ความเหมาะสมด้านอื่น ๆ

4.จงวิเคราะห์ และเปรียบเทียบการจัดโครงสร้างของโรงเรียนก่อนที่จะเป็นนิติบุคล กับเมื่อเป็นนิติบุคลแล้วความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
โครงสร้างของโรงเรียนก่อนที่จะเป็นนิติบุคล กับเมื่อเป็นนิติบุคลแล้วความแตกต่างกันกันคือ
โรงเรียนที่ยังไม่เป็นนิติบุคคลสถานศึกษาไม่ใช่คน เป็นส่วนหนึ่งของคน เป็นส่วนหนึ่งของกรม ต้องทำตามระเบียบที่กำหนดให้ มีการแบ่งงานเป็น 6 งาน
1.งานบุคลากร
2.งานวิชาการ
3.งานกิจการนักเรียน
4.งานธุรการ การเงินและพัสดุ
5.งานอาคารสถานที่
6.งานความสัมพันธ์กับชุมชน
โรงเรียนนิติบุคคลมีขอบข่ายและภารกิจ 4 ด้าน ดังนี้ 1. การบริหารวิชาการ 2. การบริหารงบประมาณ 3. การบริหารงานบุคคล 4. การบริหารทั่วไป
การบริหารวิชาการ ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ การนิเทศการศึกษา การแนะแนว การศึกษา การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา การส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชน การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาอื่น การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงานและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา การบริหารงบประมาณ ได้แก่ การจัดทำและเสนอของบประมาณ การจัดสรรงบประมาณ การตรวจสอบ ติดตามประเมินผลและรายงานผลการใช้เงินและผลการดำเนินงาน การระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา การบริหารการเงิน การบริหารบัญชี การบริหารพัสดุและสินทรัพย์ การบริหารทั่วไป ได้แก่ การดำเนินงานเลขานุการ งานเลขานุการคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน งานพัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ การประสานและพัฒนาเครือข่ายการศึกษา การจัดระบบการบริหารและพัฒนาองค์กร งานเทคโนโลยีสารสนเทศ การส่งเสริมสนับสนุนด้านวิชาการ งบประมาณ บุคลากรและบริหารทั่วไป การดูแลอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม การจัดทำสำมะโนผู้เรียน การรับนักเรียน การส่งเสริมและประสานงานการศึกษาให้นอกระบบและตามอัธยาศัย การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา งานส่งเสริมงานกิจการนักเรียน การประชาสัมพันธ์งานการศึกษา งานส่งเสริมสนับสนุนและประสานงานการศึกษาของบุคลกร ชุมชน องค์กร หน่วยงานและสถาบัน สังคมอื่นที่จัดการศึกษา งานประสานราชการกับเขตพื้นที่การศึกษาและหน่วยงานอื่นการจัดระบบควบคุมในหน่วยงาน งานบริการสาธารณะ
จะเห็นได้ว่า ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการสถานศึกษามีฐานะเป็นผู้แทนนิติบุคคลแต่ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษากว้างขวาง เช่นเดียวกับหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงทบวงกรม จึงเป็นผลให้ผู้บริหารสถานศึกษาไม่อาจบริหารสถานศึกษาให้มีความอิสระคล่องตัวและมีประสิทธิภาพได้อย่างแท้จริง เพราะอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการในหลายเรื่อง ยังเป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการในระดับกระทรวงทบวงกรมอยู่ ดังนั้นหากจะให้สถานศึกษาบริหารจัดการได้เองอย่างอิสระคล่องตัวเรื่องใดก็ต้องมีการมอบอำนาจในเรื่องนั้นๆ ให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา

5.เพราะเหตุใดการจัดโครงสร้างของโรงเรียนเอกชนจึงต้องมีรูปแบบเฉพาะของแต่ละแห่ง
กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดหลักการบริหารและการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีคณะกรรมการบริหาร เพื่อทำหน้าที่บริหารและจัดการศึกษาโรงเรียนเอกชนให้มีความเป็นอิสระโดยมีการกำกับติดตาม การประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเช่นเดียวกับสถานศึกษาของรัฐ นอกจากนี้ เพื่อให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยรัฐพร้อมให้การสนับสนุนด้านเงินอุดหนุน และสิทธิประโยชน์อย่างอื่นรวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนด้านวิชาการ ให้แก่สถานศึกษาของเอกชน และสถานศึกษาของเอกชนมีความแตกต่างกันทั้งปริมาณงาน และขอบเขตของงานที่รับผิดชอบ

6.การที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดโครงสร้างโครงสร้างของโรงเรียนที่เป็นนิติบุคล เป็น 4 ฝ่าย ท่านคิดว่าเหมาะสมหรือไม่เพราะเหตุใด
การที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดโครงสร้างโครงสร้างของโรงเรียนที่เป็นนิติบุคล เป็น 4 ฝ่ายข้าพเจ้าคิดว่าเหมาะสมแล้วเพราะ
1. โครงสร้างมีการแบ่งงานกันทำโดยแยกออกเป็นแต่ละงาน
1.2. โครงสร้างมีการมอบหมายงาน และความรับผิดชอบของแต่ละคน ตามความรู้และความถนัดของแต่ละคน
1.3. โครงสร้างมีการประสานงานต่างๆให้ดำเนินอย่างสอดคล้องกัน
1.4. โครงสร้างมีการจัดงานออกเป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่ม (4 กลุ่มงาน) ตั้งขึ้นเป็นหน่วยงาน หรือแผนกงาน
1.5. โครงสร้างมีการสร้างความสัมพันกันระหว่างบุคล กลุ่มคน หน่วยงาน หรือแผนกงาน
1.6. โครงสร้างมีการกำหนดการบังคับบัญชาอย่างเป็นทางการตลอดทั้งองค์กร
1.7. โครงสร้าง มีการจัดสรรการใช้ทรัพยากร อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
นอกจากนั้นกระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้ โรงเรียนเพิ่มโครงสร้างเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม โดยให้เป็นไปตามที่กฏหมายกำหนด

*******************************************




















ตอบคำถามท้ายบท
โครงสร้างการจัดการศึกษาของไทย




โดย
นายทรงชัย เลิศวัฒนาพร
นักศึกษาปริญญาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา
เลขประจำตัว 75079075



เสนอ
ผศ.ดร.ไพโรจน์ อุลิต