วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

แนวคิดเพื่อการเปลี่ยนแปลงองค์กร

บทที่4 แนวคิดเพื่อการเปลี่ยนแปลงองค์กร
1.อธิบายสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงมีสาเหตุอยู่หลายประการสามารถสรุปได้ดังนี้
1.ปัจจัยภายนอก ได้แก่ สภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน กฎระเบียบ ข้อบังคับ ระบบการขนส่ง เทคโนโลยี การแข่งขันทางธุรกิจ ฯลฯ
2.ปัจจัยภายใน ได้แก่ นโยบายขององค์การระบบการบริหาร ผู้บริหารงานบุคคล กฎระเบียบ ข้อบังคับขององค์การ สถานที่ทำงาน บุคลากร การตอบแทน สวัสดิการ บรรยากาศการทำงาน สิ่งอำนวยความสะดวก ความมั่นคง ผลประกอบการ

2.ขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลง มีอะไรบ้าง อธิบายโดยสรุป
การเปลี่ยนแปลงเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างมีลำดับขั้นตอน เคิร์ท เลวิน (Kurt Lewin) นักจิตวิทยาชื่อดัง ได้แบ่งขั้นตอนของกระบวนการให้การเปลี่ยนแปลงออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะยอมรับถึงความจำเป็น (Unfreezing) ระยะดำเนินการเปลี่ยนแปลง (Changing) และระยะรักษาสภาพใหม่ให้อยู่กับองค์การได้ถาวร (Refreezing) 1. ระยะยอมรับถึงความจำเป็น (Unfreezing) เป็นขั้นตอนที่เงื่อนไขสภาพแวดล้อมและสถานภาพเดิมที่องค์การเป็นอยู่ขณะนั้นเกิดปัญหาทำให้การดำเนินกิจการไม่เป็นที่น่าพอใจ ซึ่งอาจเกิดจากการมีโครงสร้าง การจัดรูปแบบงาน หรือเทคโนโลยีที่ขาดประสิทธิผลหรือการที่พนักงานขาดทักษะและเจตคติที่เหมาะสม การเกิดวิกฤตการณ์เป็นตัวเร่งให้ฝ่ายต่าง ๆ ยอมรับและเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง เช่นการชุมนุมประท้วงอย่างรุนแรงของพนักงาน หรือยอดตัวเลขการขายสินค้าตกลงอย่างฮวบฮาบหรือการเกิดกรณีฟ้องร้องทางกฎหมายกับบริษัท เป็นต้น อย่างไรก็ดี การยอมรับถึงความจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงนั้น ไม่จำเป็นต้องมีวิกฤตการณ์เกิดขึ้นก็ได้ แต่อาจจะมาจากการได้ข้อมูลจากแหล่งอื่น เช่น การสำรวจทัศนะของลูกค้า พนักงานหรือดูจากบัญชีการเงินของบริษัท เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้สามารถใช้ในการคาดเหตุการณ์ล่วงหน้าเพื่อดำเนินการเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะเกิดภาวะวิกฤตได้ 2. ระยะดำเนินการเปลี่ยนแปลง (Changing) เป็นขั้นตอนของการนำแผนงานวิธีการและเทคนิคต่าง ๆ ลงสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สภาพที่ต้องการ อย่างไรก็ดีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างสามารถทำได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องมีแผนงานก็ได้ เช่น การจัดฝึกอบรมทักษะการทำงาน การปรับขั้นตอนการสรรหาพนักงาน เป็นต้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับคนไม่กี่คน แต่ถ้าเป็นการเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่ต้องเกี่ยวกับคนจำนวนมาก เช่น การปฏิรูปปรับรื้อองค์การใหม่ การปรับนโยบายจากรวมศูนย์ไปเป็นการกระจายอำนาจความรับผิดชอบในการตัดสินใจลงสู่ระดับล่าง เป็นต้น จำเป็นต้องมีแผนและดำเนินการอย่างรอบคอบ 3. ระยะรักษาสภาพใหม่ให้อยู่กับองค์การได้ถาวร (Refreezing) กล่าวคือ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแล้ว พร้อมทั้งได้มีการพัฒนาด้านพฤติกรรมและเจตคติของพนักงานหรือปรับโครงสร้างใหม่แล้ว ในขั้นตอนจากนี้ก็คือ การทำให้การเปลี่ยนแปลงใหม่ในด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นคงอยู่และกลายเป็นส่วนหนึ่งขององค์การต่อไป ซึ่งมีสิ่งที่ต้องพิจารณาก็คือ การเปลี่ยนแปลงใหม่ที่เกิดขึ้นมีประสิทธิผลหรือไม่ และขั้นตอนต่อเนื่องที่จะต้องเปลี่ยนแปลงต่อไปเป็นอย่างไร แนวคิดในการบริหารปัจจุบันจึงให้ความสำคัญต่อการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning organization) เพื่อกระตุ้นทุกคนในองค์การให้มีนิสัยการเรียนรู้ตลอดเวลาและพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงเสมอ ประเด็นและปัญหาสำคัญในกระบวนการของการเปลี่ยนแปลง (Issues in changing process)ในกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงทั้ง 3 ระยะดังกล่าว เป็นสิ่งที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้โดยง่าย แต่มีประเด็นสำคัญที่จะต้องเตรียมการและมีปัญหาที่ต้องเผชิญในกระบวนการของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งได้แก่ การตรวจวินิจฉัย (Diagnosis) การต่อต้าน (Resistance) การประเมินผล (Evaluation) และการเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ (Institutionalization) โดยประเด็นเหล่านี้จะเกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนในกระบวนการของการเปลี่ยนแปลง
3.การเปลี่ยนแปลงที่มีแผนไว้ล่วงหน้ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
การเปลี่ยนแปลงที่มีแผนไว้ล่วงหน้ามีขั้นตอนดังนี้คือ
1. ความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลง 2. การสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลง
3.วิเคราะห์ปัญหาต่างๆการเปลี่ยนแปลง 4.แสวงหาวิธีการเปลี่ยนแปลง ที่เหมาะสม 5.เลือกเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลง 6.ลงมือปฏิบัติในการเปลี่ยนแปลง 7.ประเมินผลการเปลี่ยนแปลง 8.ประสิทธิผลการปรับปรุงเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงเท่าที่จำเป็น 9.ปริมาณ และคุณภาพของงาน

4.ให้วิเคราะห์สถานศึกษาของท่านว่ามีปัญหาสำคัญอะไรบ้างและควรเปลี่ยนแปลงด้านใดบ้าง
สถานศึกษาของข้าพเจ้ามีปัญหาที่สำคัญคือ และควรเปลี่ยนแปลงด้าน

สภาพปัญหา
การเปลี่ยนแปลง
1.การปฏิบัติไม่ตอบสนองต่อนโยบายด้านกฎหมาย
1.ควรเปลี่ยนแปลงทางด้านการจัดทำแผนให้สอดคล้องกับนโยบาย โดยชุมชนมีส่วนร่วม
2. สภาพการทำงาน ในองค์กรไม่มีความคล่องตัว
2. ควรเปลี่ยนแปลงทางด้านการจัดองค์การ และกฎระเบียบ ในการปฏิบัติงาน
3.บุคลากรลดลง
3.พัฒนาบุคลากรให้ ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย และพัฒนาด้านความสัมพันธ์กับชุมชน
4.โรงเรียนมีนักเรียนลดลง
4.พัฒนาคุณภาพนักเรียน และประชาสัมพันธ์



5.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงมีอะไรบ้าง
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงเป็นกระบวนการทางจิตวิทยา เกิดจากบุคลิกและภูมิหลัง ทางด้านประสบการของคน มีดังนี้
1.ความรู้สึกก่อนการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ความรู้สึกไม่ปลอดภัย และความรู้สึกไม่มั่นคงในชีวิตและการเปลี่ยนแปลง
2.ความเชื่อในวัฒนธรรมและระเบียบแบบแผน
3.ปัจจัยอื่นๆที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติของบุคคลต่อการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ความไว้เนื้อเชื่อใจ ฐานะของบุคลในองค์กร ทั้งในฐานะผู้ปฏิบัติงาน และฐานะสัมพันธภาพระหว่างกลุ่

6.พฤติกรรมต่อต้านการเปลี่ยนแปลงเนื่องมาจากสาเหตุใดบ้าง
1.สาเหตุส่วนบุคคล เป็นกระบวนการทางด้านจิตวิทยา และนิสัยส่วนตัว อันได้แก่การเกิดความเข้าใจผิดในการเปลี่ยนแปลง เกิดความกลัวในความมั่นคงปลอดภัย การขาดอำนาจ การขาดความร่วมมือ ผลประโยชน์ ค่านิยม การขัดกันของบุคคล
2.สาเหตุขององค์กร เป็นกระบวนการทางด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมได้แก่ ผลประโยชน์ที่ได้รับ การขัดกันระหว่างองค์กร บรรยากาศ การเลือวิธีการเปลี่ยนแปลงไม่เหมาะสม การ้ปลี่ยนแปลงในอดีตไม่ประสบผลสำเร็จ โครงสร้างขององค์กรไม่เอื้ออำนวยในการเปลี่ยนแปลง

7.บอกวิธีป้องกันและแก้ไขการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
วิธีป้องกันและแก้ไขการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงจำแนกได้ดังนี้
1.สนับสนุนการร่วมมือร่วมใจจากทุกฝ่ายให้เกิดขึ้นก่อน
2.เริ่มต้นเปลี่ยนแปลงที่จุดยอดหรือผู้บริหารระดับสูงก่อน
3.ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นการลดภาระกิจของคนส่วนมากลงมามิใช่การเพิ่มภาระให้หนักกว่าเดิมแต่อย่างใด
4.ผสมผสานข้อเสนอของการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับธรรมเนียมประเพณีและค่านิยมของทุกฝ่ายในองค์กร
5.แสดงให้เห็นว่าหลังจากการการเปลี่ยนแปลงแล้ว ทุกคนมีอิสระเสรีมากมายกว่าเดิม หรืออย่างน้อยเท่าเดิม
6.เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมวิเคราะห์ปัญหาที่ควรจะการเปลี่ยนแปลงด้วยตนเอง
7.พยายามใช้หลักการตัดสินใจ โดยหลักความยิยยอมตั้งแต่เริมต้นการเปลี่ยนแปลง
87.สร้างระบบตรวจสอบข่าวสารย้อนกลับให้ดี ขจัดความกลัว ความยุ่งยากที่จะเกิดขึ้นอันเป็นจะผลการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ
9.เปิดโอกาสให้มีการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจร่วมกัน

8.เมื่อมีการปฏิรูปการศึกษาโรงเรียนของท่านได้มีการเปลียนแปลงเรื่องใดบ้าง
เมื่อมีการปฏิรูปการศึกษาโรงเรียนของข้าพเจ้าได้มีการเปลียนแปลงดังนี้
1. การเปลี่ยนประบบการศึกษา ระบบการศึกษาปัจจุบันมี 3 ระดับ คือ 1.1 เปลี่ยนจากระบบการศึกษาภาคบังคับจาก 6 ปี เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็น 12 ปี และ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เน้นความรู้พื้นฐาน ทั่วไปเพื่อการดำรงชีวิตของคนไทย ให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข การจัดการศึกษา จะต้องให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม , เศรษฐกิจ , เทคโนโลยี และการเมืองของโลก ซึ่งมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี สารสนเทศที่รวดเร็วมาก ทำให้การติดต่อสื่อสารไร้ข้อจำกัดใดๆ ทำให้โลก แคบลง จึงควรจัดการศึกษาทั้ง 3 ระบบ ให้มีหลากหลายวิธี คือ ควรมีทั้งระบบโรงเรียนปิด - เปิด ให้โอกาสเรียนรู้แบบตามอัฌชาสัย (Education on Demand) E - Learning - E - Education, Bouderless Education โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารเป็นเครื่องมือ ในการจัดการศึกษา
2. การเปลี่ยนการเรียนรู้ การเรียนรู้ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 2.1 เปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ คือ สาระของหลักสูตรต้องทันสมัย ใช้ประโยชน์ได้จริงๆ 2.2 เปลี่ยนนวัตกรรม คือ ครู อาจารย์ สอนถ่ายทอดเป็น ผลิตสื่อเป็น ประเมินวัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็น (ถูกต้อง ยุติธรรม ครบถ้วน เนื้อหาสาระหลัก ๆ) และพัฒนาสร้างองค์ความรู้เองได้ 2.3 เปลี่ยนวิธีสอน สอนอย่างไร ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ (สอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ มิใช่ ครูเป็นพระเอก หรือไม่) ให้โอกาสผู้เรียนพัฒนาการตนเองตามศักยภาพ
3. การเปลี่ยนระบบการบริหารการศึกษา
3.1 ให้มีการตรวจสอบและประเมินคุณภาพทั้งภายในและภายนอก คือ ต้องจัดทั้งระบบประกันคุณภาพทั้งภายในและภายนอกทุกระดับหน่วยงาน 3.2 ผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นำสูง กล้าหาญ ที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ให้ก้าวทันยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดคุณภาพและประสิทธิภาพสูงสุด อย่างต่อเนื่อง 3.3 การบริหาร ที่ยึดการตัดสินใจ ร่วมกัน (โดยคณะกรรมการ) ทำงานเป็น Team Working ยึดความโปร่งใส พร้อมให้มีการตรวจสอบในความถูกต้องและทางจริยธรรม
4. เปลี่ยนหน้าที่ และบทบาท ครู – บุคลากรทางการศึกษา ได้แก่
4.1 ต้องรับ "ครูพันธุใหม่" เรียน 6 ปี (เรียนทฤษฎี 5 ปี ฝึกสอน 1 ปี ) โดยปรับหลักสูตรให้เรียน เนื้อหาสาระที่จำเป็น เป็นความรู้ที่จะนำไปใช้ได้จริง ๆ เน้นสาระเชิงเทคนิคการปฏิบัติให้มากๆ และตัดทฤษฎีลงหรือให้ไปศึกษาเพิ่มเติมเอง ไม่ต้องมาเสียเวลาในห้องเรียนควรให้เรียนแบบสัมมนาให้มากๆ 4.2 การอบรมพัฒนาครู ครูต้องมีการอบรมวิชาการและเทคนิคการสอนในทุกๆ ปี หรือ 5 ปี ผู้ที่ไม่ผ่านการอบรมพัฒนาตนเอง ทุกปี ไม่ผ่านกรประเมินคุณภาพ จึงไม่ได้รับ ค่าตอบแทนพิเศษ ขึ้นเงินเดือนหรือไม่ควรให้ความชอบ ครูที่ไม่พัฒนาตนเอง คุณค่าความเป็นผู้ทรงความรู้จะมีค่าลดลงเรื่อย ๆ หากขาดการอบรมหาความรู้เพิ่ม
4.3 การจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการ ซึ่งครูเป็นวิชาชีพชั้นสูงมีค่าตอบแทน ได้มีการแยกบัญชี เงินเดือนครู โดยเฉพาะ จัดให้มีอัตราเงินเดือนสูง และจัดสวัสดิการ ให้เหมาะสมเช่นเดียวกับ วิชาชีพแพทย์ ผู้พิพากษา
5. การเปลี่ยนด้านทรัพยากรและการลงทุนทางการศึกษา ปัจจุบัน รัฐบาลใช้งบประมาณ ลงทุนทางการศึกษา โดยอาศัย
5.1 ดึงภาคเอกชนเข้ามาช่วยร่วมลงทุนและประสานให้เป็นแหล่งฝึกงาน / ทักษะ และเป็นห้องปฏิบัติการ 5.2 ใช้แหล่งความรู้จากท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น - ปราชญ์ชาวบ้าน 5.3 อาศัยเครือข่าย Internet มาช่วยบริการจัดการแหล่งวิทยาการ 5.4 ลดจำนวนบุคลากรที่ด้อยคุณภาพ โดยการประเมินคุณภาพ หากไม่ผ่านเกณฑ์ จะมีการคัดออก เพื่อลดค่าใช้จ่าย

9.ให้ท่านบอกถึงความจำเป็นของรูปแบบการบริหารการศึกษาตามแนวการปฏิรูปในแต่ละหัวข้อโดยชี้ให้เห็นว่ามีประโยชน์ต่อสถานศึกษาอย่างไร
1.การกระจายอำนาจ
มีความจำเป็นต่อสถานศึกษาคือ
1. เพื่อให้การดำเนินงานของรัฐ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดขั้นตอนการดำเนินการ อันเนื่องจากการล่าช้าในการตัดสินใจจากส่วนกลาง
2.เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนได้อย่างแท้จริง
3.เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
มีประโยชน์ต่อสถานศึกษาคือ
1.เพื่อเพิ่มคุณภาพบริการ
2.เพื่อประสิทธิภาพของระบบบริการสาธารณสุข
3.พื่อตอบสนองความต้องการและการตรวจสอบจากชุมชน
4.เพื่อความเสมอภาค
5.เพื่อความยั่งยืนและการยอมรับ

2.การบริหารแบบมีส่วนร่วม
ความสำคัญของการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม เป็นเหตุผลที่จำเป็นต่อการบริหารหรือการจัดการองค์กร คือ 1) ก่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันในการปฏิบัติงานที่มุ่งหวัง 2) กระบวนการตัดสินใจสามารถรองรับพฤติกรรมของบุคคลในองค์กรได้กว้างขวางและเกิดการยอมรับได้ 3) เป็นหลักการของการบริหารที่เป็นผลต่อการดำเนินการเชิงวิเคราะห์ด้วยเหตุผลวิวัฒนาการเพื่อความคิด (การเปิดกว้าง) การระดมความคิด (ระดมสมอง) ซึ่งนำไปสู่ การตัดสินใจได้ 4) ลดช่องว่างของระบบการสื่อสารในองค์กรและขจัดปัญหาความขัดแย้งได้

3.การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน หมายถึง การบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาตามความต้องการจำเป็นของโรงเรียนและท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง สมาชิกในชุมชน นักเรียน และองค์กรอื่น ๆ มารวมพลังกันในการตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรและดำเนินการพัฒนากิจกรรม/งานของสถานศึกษาในระยะสั้น และระยะยาวอย่างมีประสิทธิภาพ

4.โรงเรียนนิติบุคล
มีความจำเป็นและประโยชน์ต่อสถานศึกษาคือ
1. เพื่อให้สถานศึกษาจัดการศึกษาอย่างเป็นอิสระ คล่องตัว ให้สามารถบริหารจัดการศึกษาได้สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพตามหลักการกระจายอำนาจและการบริหารที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน 2. เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

5.การทำงานเป็นทีม
การทำงานเป็นทีมจะมีประโยชน์ต่อสถานศึกษาในด้านต่างๆ คือ
1. สร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานให้กับสมาชิก
เพราะการทำงานเป็นทีมจะสร้างความไว้ใจ ช่วยเหลือกัน และบรรยากาศการทำงานที่ดี ทำให้สมาชิกมีความรู้สึกสบายใจ พอใจ และเพลิดเพลินกับการทำงาน ก่อให้เกิดขวัญและกำลังใจในการทำงาน และช่วยให้เกิดผลงานที่มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ
2. สร้างความมั่นคงในอาชีพ
ช่วยให้สมาชิกของทีมงานมีความมั่นคงและก้าวหน้าในอาชีพ นอกจานนี้องค์การต่างๆ มักจะปรับระบบการประเมิน และให้ผลตอบแทนที่จูงใจแก่ทีม ทำให้สมาชิกในทีมงานที่ประสบความสำเร็จ มีความก้าวหน้าทั้งด้านการงาน รายได้ และอาชีพที่มั่นคง
3. สร้างความสัมพันธ์ในงาน
สมาชิกในทีมงานจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยระดมกำลังกาย กำลังใจ และกำลังความคิด ตลอดจนความรู้ ทักษะ ความสามารถ และประสบการณ์ของสมาชิกเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดความสัมพันธ์และความผูกพันในฐานะสมาชิกของทีม หรือที่เรียกว่า “One for all, all for one.” ทำให้บุคคล ทีม และงานมีความผูกพันใกล้ชิดกัน และบรรลุเป้าหมายที่ต้องการร่วมกัน


4. เพิ่มพูนการยอมรับนับถือระหว่างกัน
เนื่องจากสมาชิกทีมงานจะต้องกำหนดและจัดสรรตำแหน่ง อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของสมาชิก เช่น หัวหน้าทีม นักวิเคราะห์ ผู้ประสานงานของทีม และสมาชิกอื่นๆ โดยสมาชิกที่ร่วมทีมจะรับรู้ ยอมรับ และมีความเข้าใจต่อกันว่าเขาจะต้องแสดงบทบาท (Roles) อย่างไร และในช่วงเวลาใดให้เหมาะสม

10.ให้ท่านอภิปรายปัญหาและแนวการปรับปรุงแก้ไขประเด็นที่สนใจจาก 5 ข้อที่กล่าวมา โดยเลือกเพียง 1 เรื่องที่เป็นปัญหาในโรงเรียนของท่าน
ปัญหาและแนวการปรับปรุงแก้ไขประเด็นการทำงานเป็นทีม ในโรงเรียนของข้าพเจ้านั้นเกิดจาก
1.ขาดการตกลงกันตั้งแต่เริ่มต้น ขาดการพูดกัน ไม่แจ้งเป้าหมายของงาน
2. มีการปกปิดข้อมูลผิดพลาดที่ผ่านมา สมาชิกหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญปัญหาและร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา
3.ไม่ได้ใช้วิธีการประชุมหารือ เป็นเครื่องกระตุ้นเพื่อให้สมาชิกเกิด ความรู้สึกผูกผัน
4. ขาดการวางแผนงานและเวลา
5. ไม่มีการแบ่งความรับผิดชอบ เพื่อให้สมาชิกได้รู้บทบาทที่ชัดเจน
6. ขาดการประเมินผลการทำงานของทีม ตารางตรวจติดตามประเมินผล
แนวทางการแก้ไขในการทำงานเป็นทีม
1. สร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดี
2. มอบหมายงานต้องชัดเจนแน่นอน
3. ยอมรับในเรื่องความแตกต่างของสมาชิก
4. ให้ใช้ประสบการณ์ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
5. ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย
6. กำหนดจำนวนผู้ทำงานให้เหมาะสม
7. ให้ทุกคนมีวินัยในการทำงาน และทำตามกฎระเบียบ
8. จะต้องกำหนดกิจกรรมนั้นๆ จะมีวิธีปฏิบัติอย่างไร
9. จะต้องทำที่ไหน อย่างไร เพื่ออะไร เวลาใด โดยใคร
10. จะต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง
11. จะประสานกับกิจกรรมอื่น ๆ อย่างไร
ขั้นตอนในการทำงานเป็นทีม
ขั้นที่หนึ่ง เป็นหนึ่งเดียวกัน (ONENESS)
ขั้นที่สอง ประชุมสม่ำเสมอ
ขั้นที่สาม สื่อสารทั่วถึง และหาแนวร่วม
ขั้นที่สี่ นำเสนอเป็นระยะ
ขั้นที่ห้า พบปัญหา ทบทวนใหม่ (เป้าหมาย วัตถุประสงค์ ผลสัมฤทธิ์ที่คาดหมาย)
ขั้นที่หก ประเมินตรวจสอบเป็นระยะ
ขั้นที่เจ็ด ตรวจสอบความรู้สึก ความคิด สร้างบรรยากาศร่วมกันในการทำงาน

************************************************************

























ตอบคำถามท้ายบท
บทที่4 แนวคิดเพื่อการเปลี่ยนแปลงองค์กร




โดย
นายทรงชัย เลิศวัฒนาพร
นักศึกษาปริญญาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา
เลขประจำตัว 75079075





เสนอ
ผศ.ดร.ไพโรจน์ อุลิต