วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

โครงสร้างการจัดการศึกษาของไทย

คำถามท้ายบทที่3
โครงสร้างการจัดการศึกษาของไทย

1. การจัดโครงสร้างสถานศึกษาของท่าน สามารถตอบสนองวัตถุประสงค์สำคัญของการจัดโครงสร้างองค์การในข้อใดบ้าง
1.1. มีการแบ่งงานกันทำโดยแยกออกเป็นแต่ละงาน
1.2. เพื่อมอบหมายงาน และความรับผิดชอบของแต่ละคน ตามความรู้และความถนัดของแต่ละคน
1.3. เพื่อประสานงานต่างๆให้ดำเนินอย่างสอดคล้องกัน
1.4. จัดงานออกเป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่ม (4 กลุ่มงาน) ตั้งขึ้นเป็นหน่วยงาน หรือแผนกงาน
1.5. มีการความสัมพันกันระหว่างบุคล กลุ่มคน หน่วยงาน หรือแผนกงาน
1.6. มีการกำหนดการบังคับบัญชาอย่างเป็นทางการตลอดทั้งองค์กร
1.7. เพื่อจัดการสรรการใช้ทรัพยากร อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

2. การจัดโครงสร้างองค์การตามแนวคิดการบริหารแบบดั้งเดิม กับการบริหารในยุคปัจจุบันมีความแตกต่างกันอย่างไร
แนวคิดการบริหารแบบดั้งเดิม
1.1.บริหารแบบดั้งเดิมอำนาจการบังคับบัญชาลดหลั่นกันมาอย่างชัดเจน
1.2.มีความเป็นเอกภาพของการบังคับบัญชา
1.3.อำนาจการบังคับบัญชา ต้องเท่าเทียมกับความรับผิดชอบ
1.4.ผู้บริหารสามารถมอบหมายงานให้กับระดับรองลงไปได้ แต่ความรับผิดชอบยังคงอยู่
แนวคิดการบริหารแบบใหม่
2.1.สายบังคับบัญชาสั้นลง การทำงานรวดเร็วขึ้น
2.2.ขนาดการควบคุมกว้างขึ้น
2.3.ความเป็นเอกภาพในการบังคับบัญชาน้อยลง
2.4.การมอบหมายงาน และการให้คนมีอำนาจมากขึ้น มีการกระจายงานมากขึ้น

3.การจัดโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการกับโครงสร้างของเขตพื้นที่การศึกษาแตกต่างกันอย่างไร
โครงสร้างของ ศธ. เมื่อครั้งมีการปฏิรูปการศึกษาว่า เป็นไปในลักษณะที่ต้องการให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางจากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา จึงคิดว่า วิธีที่มีองค์คณะบุคคล และให้มีลักษณะในเชิงที่มี Representative อาจทำให้การมีส่วนร่วมกว้างขวางขึ้น และทำให้การศึกษาตอบสนองต่อความต้องการต่างๆ ได้ดีขึ้น
ดังนั้น จึงได้ออกแบบให้มีคณะกรรมการตั้งแต่ระดับสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา จนถึงหน่วยบริหาร คือ องค์กรหลักที่มีสถานศึกษา หน่วยงานที่มีคณะกรรมการในระดับนี้ ได้แก่ สพฐ. สอศ. และ สกอ. นอกจากนี้ยังได้จัดรูปแบบ โครงสร้างขององค์คณะบุคคลที่ใช้กับ สกศ.ซึ่งเป็นสภากลางที่กำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษาทุกระดับทุกประเภท
ส่วนโครงสร้างของเขตพื้นที่การศึกษา ได้ยึดพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ โดยจัดการศึกษาต่ำกว่าปริญญา โดยถือว่ายังเป็นส่วนราชการที่สังกัดราชการบริหารส่วนกลาง คือกระทรวงหรือ กรม กำหนด กรอบการบริหารจัดการ โดยยึดเขตพื้นที่การศึกษา โดยคำนึงถึง ปริมาณสถานศึกษา จำนวนประชากร สภาพภูมิศาสตร์ การคมนาคม วัฒนธรรม และ ความเหมาะสมด้านอื่น ๆ

4.จงวิเคราะห์ และเปรียบเทียบการจัดโครงสร้างของโรงเรียนก่อนที่จะเป็นนิติบุคล กับเมื่อเป็นนิติบุคลแล้วความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
โครงสร้างของโรงเรียนก่อนที่จะเป็นนิติบุคล กับเมื่อเป็นนิติบุคลแล้วความแตกต่างกันกันคือ
โรงเรียนที่ยังไม่เป็นนิติบุคคลสถานศึกษาไม่ใช่คน เป็นส่วนหนึ่งของคน เป็นส่วนหนึ่งของกรม ต้องทำตามระเบียบที่กำหนดให้ มีการแบ่งงานเป็น 6 งาน
1.งานบุคลากร
2.งานวิชาการ
3.งานกิจการนักเรียน
4.งานธุรการ การเงินและพัสดุ
5.งานอาคารสถานที่
6.งานความสัมพันธ์กับชุมชน
โรงเรียนนิติบุคคลมีขอบข่ายและภารกิจ 4 ด้าน ดังนี้ 1. การบริหารวิชาการ 2. การบริหารงบประมาณ 3. การบริหารงานบุคคล 4. การบริหารทั่วไป
การบริหารวิชาการ ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ การนิเทศการศึกษา การแนะแนว การศึกษา การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา การส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชน การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาอื่น การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงานและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา การบริหารงบประมาณ ได้แก่ การจัดทำและเสนอของบประมาณ การจัดสรรงบประมาณ การตรวจสอบ ติดตามประเมินผลและรายงานผลการใช้เงินและผลการดำเนินงาน การระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา การบริหารการเงิน การบริหารบัญชี การบริหารพัสดุและสินทรัพย์ การบริหารทั่วไป ได้แก่ การดำเนินงานเลขานุการ งานเลขานุการคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน งานพัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ การประสานและพัฒนาเครือข่ายการศึกษา การจัดระบบการบริหารและพัฒนาองค์กร งานเทคโนโลยีสารสนเทศ การส่งเสริมสนับสนุนด้านวิชาการ งบประมาณ บุคลากรและบริหารทั่วไป การดูแลอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม การจัดทำสำมะโนผู้เรียน การรับนักเรียน การส่งเสริมและประสานงานการศึกษาให้นอกระบบและตามอัธยาศัย การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา งานส่งเสริมงานกิจการนักเรียน การประชาสัมพันธ์งานการศึกษา งานส่งเสริมสนับสนุนและประสานงานการศึกษาของบุคลกร ชุมชน องค์กร หน่วยงานและสถาบัน สังคมอื่นที่จัดการศึกษา งานประสานราชการกับเขตพื้นที่การศึกษาและหน่วยงานอื่นการจัดระบบควบคุมในหน่วยงาน งานบริการสาธารณะ
จะเห็นได้ว่า ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการสถานศึกษามีฐานะเป็นผู้แทนนิติบุคคลแต่ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษากว้างขวาง เช่นเดียวกับหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงทบวงกรม จึงเป็นผลให้ผู้บริหารสถานศึกษาไม่อาจบริหารสถานศึกษาให้มีความอิสระคล่องตัวและมีประสิทธิภาพได้อย่างแท้จริง เพราะอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการในหลายเรื่อง ยังเป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการในระดับกระทรวงทบวงกรมอยู่ ดังนั้นหากจะให้สถานศึกษาบริหารจัดการได้เองอย่างอิสระคล่องตัวเรื่องใดก็ต้องมีการมอบอำนาจในเรื่องนั้นๆ ให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา

5.เพราะเหตุใดการจัดโครงสร้างของโรงเรียนเอกชนจึงต้องมีรูปแบบเฉพาะของแต่ละแห่ง
กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดหลักการบริหารและการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีคณะกรรมการบริหาร เพื่อทำหน้าที่บริหารและจัดการศึกษาโรงเรียนเอกชนให้มีความเป็นอิสระโดยมีการกำกับติดตาม การประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเช่นเดียวกับสถานศึกษาของรัฐ นอกจากนี้ เพื่อให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยรัฐพร้อมให้การสนับสนุนด้านเงินอุดหนุน และสิทธิประโยชน์อย่างอื่นรวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนด้านวิชาการ ให้แก่สถานศึกษาของเอกชน และสถานศึกษาของเอกชนมีความแตกต่างกันทั้งปริมาณงาน และขอบเขตของงานที่รับผิดชอบ

6.การที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดโครงสร้างโครงสร้างของโรงเรียนที่เป็นนิติบุคล เป็น 4 ฝ่าย ท่านคิดว่าเหมาะสมหรือไม่เพราะเหตุใด
การที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดโครงสร้างโครงสร้างของโรงเรียนที่เป็นนิติบุคล เป็น 4 ฝ่ายข้าพเจ้าคิดว่าเหมาะสมแล้วเพราะ
1. โครงสร้างมีการแบ่งงานกันทำโดยแยกออกเป็นแต่ละงาน
1.2. โครงสร้างมีการมอบหมายงาน และความรับผิดชอบของแต่ละคน ตามความรู้และความถนัดของแต่ละคน
1.3. โครงสร้างมีการประสานงานต่างๆให้ดำเนินอย่างสอดคล้องกัน
1.4. โครงสร้างมีการจัดงานออกเป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่ม (4 กลุ่มงาน) ตั้งขึ้นเป็นหน่วยงาน หรือแผนกงาน
1.5. โครงสร้างมีการสร้างความสัมพันกันระหว่างบุคล กลุ่มคน หน่วยงาน หรือแผนกงาน
1.6. โครงสร้างมีการกำหนดการบังคับบัญชาอย่างเป็นทางการตลอดทั้งองค์กร
1.7. โครงสร้าง มีการจัดสรรการใช้ทรัพยากร อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
นอกจากนั้นกระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้ โรงเรียนเพิ่มโครงสร้างเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม โดยให้เป็นไปตามที่กฏหมายกำหนด

*******************************************




















ตอบคำถามท้ายบท
โครงสร้างการจัดการศึกษาของไทย




โดย
นายทรงชัย เลิศวัฒนาพร
นักศึกษาปริญญาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา
เลขประจำตัว 75079075



เสนอ
ผศ.ดร.ไพโรจน์ อุลิต