วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

การจัดการคุณภาพ

บทที่ 2 การจัดการคุณภาพการศึกษา
1.แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการคุณภาพเริ่มต้นจากแนวคิดเกี่ยวกับอะไร
หลักการและแนวทางปฏิบัติของการบริหารคุณภาพ ( Quality Management) ได้วิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องโดยเริ่มจากการตรวจสอบคุณภาพ (Inspection) และการควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Control) ในทศวรรษ 1970 และได้วิวัฒนาการไปสู่การประกันคุณภาพ (Quality Assurance) และการบริหารคุณภาพ (Quality Management) ทศวรรษ 1980 และ 1990 ตามลำดับ รวมทั้ง TQM (Total Quality Management) และ Six Sigma ที่เพิ่งจะเริ่มมีขึ้นในทศวรรษที่ผ่านมานี่เอง
2.ให้สรุปวิวัฒนาการเกี่ยวกับการบริหารคุณภาพแบบมุ่งทั้งองค์กรมาพอสังเขป
การบริหารคุณภาพมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งเริ่มวิวัฒนาการในช่วงการปฎิวัติอุตสาหกรรมโดยเริ่มจากบทบาทของการตรวจสอบคุณภาพแบบเดิม ( Inspection) การควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพ และ TQM ในหนังสือเรื่อง “The Wealth of the Nation” เขียนโดย Adam Smith ในปี 1776 โดยได้นำแนวคิดเกี่ยวกับการจำแนกแรงงาน ซึ่งเป็นแรงผลักดันหนึ่งที่ทำให้เกิดการปฎิวัติอุตสาหกรรมต่อมาในปี 1914 การเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้กระตุ้นให้เกิดการผลิตแบบ Mass Production ในช่วงเวลาดังกล่าว การตรวจสอบทางด้านอุตสาหกรรมกลายเป็นสิ่งจำเป็น แนวทางใหม่ในการบริหารที่พัฒนาขึ้นโดย Frederick W. Taylor ในปี 1919 หรือที่เรียกว่า “การบริหารโดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์” ( Scientific Management ) นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มผมผลิต โดยไม่มีการเพิ่มจำนวนช่างฝีมือ ต่อมาในปี 1924 Dr. Walter A. Shewhart วิศวกรจากบริษัท Western Electric ได้นำแนวคิดเกี่ยวกับ Control Chart มาใช้ในการควบคุมความผันแปรของคุณภาพผลิตภัณฑ์ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการควบคุมคุณภาพโดยใช้สถิติที่เรียกว่า Statistical Quality Control ( SQC ) ในปี 1931 ในขณะเดียวกันที่ประเทศอังกฤษก็ได้พัฒนามาตรฐาน British Standards นอกจากนี้ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ( 1941 – 1945 ) สหรัฐได้พัฒนาวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใหม่โดยใช้แนวคิด Acceptable Quality Levels ( AQLs ) ดังนั้น การตรวจสอบโดยวิธีสุ่มตัวอย่างจึงใช้เวลาลดน้อยลง ภายหลังจากที่ Dr. Deming และ Dr. Juran ได้ไปญี่ปุ่นในปี 1950 การพัฒนาคุณภาพของญี่ปุ่นได้เจริญอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาถึง 2 ทศวรรษ โดยแนวคิดในเรื่องคุณภาพเทคนิค และปรัชญาหลายอย่าง เช่น Fool Proof, QCC, CWQC, ผังก้างปลา รวมทั้งวิธีการของ Taguchi ก็ได้ถูกนำมาใช้ในการบริหารคุณภาพ
ต่อมาในปี 1946 American Society For Quality Control ( ASQC ) ได้ถูกจัดตั้งขึ้นนับตั้งแต่ปี 1950 -1960 สหรัฐให้การยอมรับในคุณค่าของทฤษฏีต่าง ๆ ของ Dr. Deming และ Dr.Shewhart และแล้วศักราชใหม่ของการประกันคุณภาพ ( QA ) ก็ได้เปลี่ยนแปลงสิ่งที่อุตสาหกรรมได้มุ่งเน้น นั่นคือการเปลี่ยนจากการตรวจสอบคุณภาพ ( Inspection ) เพื่อหาของเสียไปเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดของเสีย ( Prevention ) ในช่วงเวลาดังกล่าว ปรัชญาทางด้านคุณภาพมากมายได้เกิดขึ้น เช่น เรื่อง Cost of Quality ( CQQ ) , Total Quality Control ( TQC ) , Reliability Engineering , Zero Defeets, Management by Objective เป็นต้น ในระหว่างปี 1980 -1990 ความต้องการของลูกค้า ผลการดำเนินงานของคู่แข่งขัน และการลดต้นทุนคุณภาพเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ซึ่งนำไปสู่การดำเนินการในเรื่องการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร ( TQM )

3.รางวัล Malcolm Baldring Nation Quality Award หมายถึงอะไร
รางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา

4.หลักการสำคัญของการของระบบการบริหารเกี่ยวกับการบริหารคุณภาพทั้งองค์การมีอะไรบ้าง
หลัก 14 ประการของ Deming สำหรับการปรับปรุงคุณภาพ
1. การสร้างเป้าหมายที่สอดคล้องกัน
2. นำไปสู่การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง
3. สร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ หยุดการควบคุมคุณภาพโดยอาศัยการ
ตรวจสอบเพื่อให้พบปัญหา
4. เสริมสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวบนพื้นฐานทางด้านศักยภาพ แทนการ
ให้รางวัลจากการใช้ราคา
5. ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ คุณภาพ และระบบการให้บริการอย่างต่อเนื่อง
6. ทำการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ
7. เน้นภาวะผู้นำให้เกิดขึ้น
8. กำจัดข้อวิตกกังวล หรือความหวาดกลัวให้หมดไป
9. กำจัดสิ่งที่เป็นอุปสรรคของการร่วมมือระหว่างหน่วยงานในองค์การ
10. หยุดการกระตุ้นโดยใช้คำขวัญสำหรับพนักงาน
11. สนับสนุน ช่วยเหลือ และปรับปรุง
12. กำจัดอุปสรรคที่ขัดขวางความภาคภูมิใจในการทำงานของพนักงาน
13. จัดตั้งแผนการศึกษาและการฝึกอบรม เพื่อให้เกิดการปรับปรุงตนเอง
14. ทำให้ทุกคนในองค์การลงมือปฏิบัติ เพื่อมุ่งสู่การเปลี่ยนแปลง

5.จงเติมชื่อผู้แต่งหนังสือ พร้อมระบุปี ค.ศ.ที่แต่งในตารางข้างล่างนี้
ชื่อหนังสือ
ชื่อผู้แต่งหนังสือ
ปีค.ศ.ที่พิมพ์เผยแพร่
Introduction to Toal to TotalQuality
โกสต์ และเดวิส (Goestsch and Davis)
1994
Quality is Free
ครอสบี้ (Crosby)
1979
Quality, Productivity and Competitive Position
Edward Deming Deming
1982
Quality Without Tears : the Art of Hassle – Free Management
Chillip (Crosby)
1984
Total Quality Management in Education
แซลลิส (Sallis)
1992


6.การจัดการคุณภาพการศึกษามีความสำคัญอย่างไร
การจัดการคุณภาพการศึกษามีความสำคัญคือ ช่วยให้การดำเนินการทางด้านการจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล เป็นที่พอใจของผู้รับบริการ

7. คุณภาพ หมายถึงอะไร
ลักษณะความดี , ลักษณะประจำบุคคล หรือสิ่งของ ที่ลูกค้าหรือผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจ

8.การจัดการคุณภาพหมายถึงอะไร
การนำนโยบาย คุณภาพมากำหนดเป็นเป้าหมายคุณภาพ จากนั้นจะต้องมีการกำหนดเป็นแผนคุณภาพ สำหรับดำเนินการต่อไป หรือการจัดการคุณภาพหมายถึง กิจกรรมหรือกระบวนการปรับปรุงการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องทุกขั้นตอนของการทำงาน

9.การบริหารคุณภาพแบบมุ่งเน้นทั้งองค์กร (TQM) มีหลักการที่สำคัญอะไรบ้าง
1.มุ่งเน้นความสำคัญให้กับลูกค้า
2.การปรับปรุงกระบวนการทำงาน
3.การให้ทุกคนมีส่วรร่วม

10.จงสรุปว่าระบบริหารแบบ (TQM) มีองค์ประกอบอะไรบ้าง
1.วัตถุประสงค์ (Objective) เพื่อให้มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในทุกๆส่วนขององค์กร
2. หลักการพื้นฐานของรูปแบบ (Fundamanttal Principles) การมุ่ให้ความสำคัญกับลูกค้า หรือผู้รับบริการ การปรับปรุงกระบวนการทำงาน และการมีส่วนร่วมของทุกคนในองค์กร
3. องค์ประกอบ(Elements) ภาวะผู้นำการศึกษา และการฝึกอบรม โครงสร้างสนับสนุน การติดต่อสื่อสาร การพิจารณาความชอบ แลฃะการวัดผล

11.แนวคิดการจัดการคุณภาพ การศึกษา สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารสถานศึกษาได้อย่าไรบ้าง
1.ศึกษาหลักการบริหารแบบคุณภาพ
2.กำหนดนโยบายด้านบริหารคุณภาพให้ชัดเจน
3.จัดตั้งองค์กรหรือคณะบุคลดำเนินการตามนโยบายคุณภาพ
4.วางแผนและออกแบระบบงานมาตรฐานและวิธีทำงาน และการจัดการทรัพยากร
5.จัดทำคู่มือระบบคุณภาพโดยอผธิบายวิธีปฏิบัติงานแต่ละด้าน
6.สร้างทีมงาน ละจัดตั้งคณะทำงาน เพื่อดำเนินงานแต่ละด้าน
7.จัดฝึกอบรม และพัฒนาบุคลากรทุกระดับ
8.จัดระบบประเมินผลงานอย่างโปร่งใส และทุกฝ่ายยอมรับการนำสู่การปฏิบัติ

12. นโยบายคุณภาพ(Quality policy) ของเดมมิ่ง 14 ประการ (Deming 14 point) สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาอย่าไรบ้าง
นโยบายคุณภาพ(Quality policy) ของเดมมิ่ง 14 ประการ (Deming 14 point) สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการบริหารได้ โดยเริ่มตั้งแต่การ วางแผน การจัดองค์กร การจัดการบุคล การอำนวยการ และการควบคุม ให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

13. ประเด็นอภิปราย
1) การบริหารการศึกษาโดยใช้วงจร P D C A ทำอย่างไร
วงจรเดมมิ่ง เป็นวงจรเพื่อการบริหาร และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องแบบอเนกประสงค์ ครอบจักรวาล คือสามารถนำไปใช้กับระบบบริหารใดๆ ก็ได้ ทั้ง ISO9001:2000, ISO14001, 5ส, QCC etc. รวมไปถึงการบริหารการศึกษา ใช้ได้หมดแล้วแต่ว่าจะนำไปใช้
P -Plan หมายถึงการวางแผน D -Do หมายถึงการปฏิบัติ ตามแผนที่ได้วางไว้C -Check หมายถึงตรวจสอบA -Action หมายถึงการแก้ไขข้อบกพร่องจากการตรวจสอบ และนำผลจากการแก้ไขไปถือปฏิบัติ (เป็นมาตรฐาน) ต่อไป ถ้าวงจร P-D-C-A หมุนไปอย่างต่อเนื่อง จะเกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
การประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา เช่น จัดการคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษาทุกฝ่าย กล่าวคือการจัดการคุณภาพการศึกษา ต้องยึดหลักการกระจายอำนาจ และการมีส่วนร่วมของครูผู้สอน บิดา มารดา ผู้ปกครองชุมชน หรือหน่วยงานที่กำกับดูแล ให้เข้ามามีส่วนร่วมกำหนดนโยบาย วางแผน(P -Plan หมายถึงการวางแผน) ติดตามประเมินผล (C -Check หมายถึงตรวจสอบ) พัฒนาปรับปรุง(A -Action หมายถึงการแก้ไขข้อบกพร่องจากการตรวจสอบ และนำผลจากการแก้ไขไปถือปฏิบัติ) ช่วยกันคิดช่วยกันทำ (D -Do หมายถึงการปฏิบัติ ตามแผนที่ได้วางไว้) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
2) จากคำกล่าวที่ว่า การป้องกันดีกว่าการแก้ปัญหา” ท่านเห็นด้วยหรือไม่ จงยกตัวอย่าง
ประกอบ
จากคำกล่าวที่ว่า การป้องกันดีกว่าการแก้ปัญหา” ข้าพเจ้าเห็นด้วย เนื่องจาก การบริหารแบบคุณภาพมีแนวคิดอยู่บนพื้นฐานของการป้องกันความผิดพลาดต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นมากกว่าการแก้ไขภายหลังความผิดพลาด หรือความสูญเสียที่เกิดขึ้นแล้ว
ตัวอย่างจากคำกล่าวที่ว่า การป้องกันดีกว่าการแก้ปัญหา คือการให้มีระบบประกันคุณภาพทางการศึกษา กล่าวคือ เป็นการควบคุมคุณภาพโดยการกำหนดมาตรฐานด้วยตนเอง การตรวจสอบคุณภาพเป็นการตรวจสอบผลการดำเนินงานด้วยตนเอง และการประเมินคุณภาพด้วยตนเอง และบุคลภายนอก

3) การบริหารโดยใช้ข้อมูลจริงมีประโยชน์ในการแก้ปัญหา และการตัดสินใจหรือไม่ อย่างไร
การบริหารโดยใช้ข้อมูลจริงมีประโยชน์ในการแก้ปัญหา และการตัดสินใจ คือในการจัดทำแผนงานเพื่อพัฒนาคุณภาพ การกำหนดเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ การดำเนินงาน เกณฑ์มาตรฐาน ฯลฯ ขั้นตอนดังกล่าวล้วนต้องอาศัยข้อมูลพื้นฐานทั้งสิ้น หากข้อมูลพื้นฐานไม่เพียงพอ ไม่เป็นปัจจุบัน ไม่สามารถเชื่อถือได้ ย่อมหวังความสำเร็จได้ยาก ดังนั้นทุกหน่วยงานจึงจำเป็นที่จะต้องมีระบบข้อมูลสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพเพื่อใช้ในหน่วยงานของตน

4)บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการจัดการคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วยใครบ้าง และควรมีบทบาทอย่างไร
บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการจัดการคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษาทุกฝ่าย กล่าวคือการจัดการคุณภาพการศึกษา ต้องยึดหลักการกระจายอำนาจ และการมีส่วนร่วมของครูผู้สอน บิดา มารดา ผู้ปกครองชุมชน หรือหน่วยงานที่กำกับดูแล ให้เข้ามามีส่วนร่วมกำหนดนโยบาย วางแผน ติดตามประเมินผล พัฒนาปรับปรุง ช่วยกันคิดช่วยกันทำให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

..............................................................................................................

บทที่ 2การจัดการคุณภาพการศึกษา




โดย
นายทรงชัย เลิศวัฒนาพร
นักศึกษาปริญญาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา
เลขประจำตัว75079075





เสนอ
ผศ.ดร.ไพโรจน์ อุลิต